การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันร่วมกับภาวะแทรกซ้อนระยะฟื้นฟู โรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประดับพร เนตวงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน, ระยะฟื้นฟู, การพยาบาลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

     การศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย โดยเลือกแบบเจาะจงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่าง เดือน กันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลจากเวชระเบียนจากการซักประวัติผู้ป่วยและญาติ โดยใช้แนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ทฤษฎีการดูแลตัวเองของโอเร็มเพื่อค้นหาปัญหาและวางแผนปฏิบัติการพยาบาลสรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

     ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 35 ปี แขนและขาด้านขวาอ่อนแรง การวินิจฉัย Ischemic Stroke เข้ารับการรักษาที่ Home Ward ของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ให้ฟื้นฟูสภาพร่างกายต่อ แผนการรักษารับยาต่อเนื่องควบคุมความดันโลหิตสูง ประวัติโรคร่วม ความดันโลหิตสูง ติดตามดูแลต่อเนื่อง Glasgow coma  scale (GCS) E4VTM6  มีอาการแขนและขาด้านซ้ายอ่อนแรง Motor power ด้านซ้าย grade V ด้านขวา grade III พบปัญหาแทรกซ้อน คือ ความดันโลหิตสูง เคลื่อนไหวลำบาก การดูแลตนเองบกพร่องและปัญหาเศรษฐกิจ หลังรับการรักษาต่อเนื่องอาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ

     กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย  อายุ 77 ปี การวินิจฉัย Ischemic Stroke หลังการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลืดดชนิด rt-PA เกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง Craniectomy with remove clot ผู้ป่วยปฏิเสธโรคประจำตัว แพทย์จำหน่ายกลับบ้านเพื่อฟื้นฟูสภาพ ติดตามดูแลรักษาต่อเนื่อง GCS E4V5M6 มีแขนและขาด้านซ้ายอ่อนแรง Motor power ด้านซ้าย grade I ด้านขวา grade V รับการรักษาด้วยยาและฟื้นฟูสภาพ พบปัญหาการกลืน การเคลื่อนไหว การดูแลตนเองบกพร่อง ภายหลังการรักษาและการฟื้นฟูสภาพอาการโดยรวมของผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ

References

The National Institute of Neurological Disorder and stroke rt-PA Stroke study group. (2018).Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. N Engl J Med, 333(24),1581-7.

American Stroke Association.(2020) Guideline for the early Management of patient With Acute Ischemic Stroke. Retrieved january 10, 2020, from https://www.bmc.org/sites/default/files/Patient_Care/Specialty_Care/Stroke_and_Cerebrovascular_Center/Medical_Professionals/ Protocols

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุททธศาสตร์ การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564). กรงุเทพฯ : อโมชั่นอาร์ตจำกัด; 2560

สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย.(2560). แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพฯ:สถาบันประสาทวิทยา.

สถิติข้อมูล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. งานข้อมูลและสถิติ. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลกาฬสินธุ์; 2563-2565. (คัดสำเนา)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

เนตวงษ์ ป. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันร่วมกับภาวะแทรกซ้อนระยะฟื้นฟู โรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 100–108. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1872