การพยาบาลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิง:กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุพึ่งพิง, ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ระบบการดูแลระยะยาวบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิง โดยศึกษาเปรียบเทียบผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการดูแลในระบบการดูแลระยะยาวในพื้นที่ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้สูงอายุและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบอาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และการพยาบาล
ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิงทั้ง 2 ราย มีปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกันคือ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลขาดความตระหนักในการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับโรค ผู้สูงอายุ รายที่ 1มีความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย แต่มีปัญหาด้านการสื่อสารมีผู้ดูหลักคือภรรยา 1 คน ส่วนผู้สูงอายุรายที่ 2 การสื่อสารและการรับรู้ปกติ แต่มีปัญหา Empowerment เนื่องจากผู้ดูแลหลักคือบุตรสาว 2 คน ต้องไปทำงานนอกบ้าน ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านตามลำพัง ที่อยู่เป็นบ้านชั้นเดียวแต่ยังสร้างไม่เสร็จ ทั้งนี้การให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านเป็นการดูแลผู้ป่วยที่อาการทางคลินิกคงที่แต่มีสภาพเปราะบาง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเจ็บป่วยสูงมากถ้าขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดีและสม่ำเสมอจากผู้ดูแล ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน รวมถึงความพร้อมของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้สูงอายุ
References
การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. สำนักการพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
ปาร์ยชญา วงษ์ไตรรักษ์. (2561). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้านโดยครอบครัว . ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สาหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จากัด; 2558.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายแบบประคับประคองสำหรับทีมหมอครอบครัว (Guideline of Palliative care for family care team). นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2558.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. คู่มือหลักสูตร Care Manager กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2558.
จรรจา สันตยากร. การจัดการดูแลโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน แนวคิดและประสบการณ์การพยาบาล ในชุมชน. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย; 2554.
จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, จันทร์ฉาย มณีวงษ์. ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมต่อความพร้อมของญาติ/ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2551; 21(1): 58-70.
นงนุช เพ็ชรร่วง, ปนัดดา ปริยทฤต, วิโรจน์ ทองเกลี้ยง. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2556; 14(1): 25-34.
วรนุช ทิพย์ถิระพงศ์, การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกขาหักแบบละเอียดไม่มีแผลเปิด และมีความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง: กรณีศึกษา.วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4 2558; 17(3): 237-244.