การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากขบวนการผลิตคอมเพรสเซอร์ในโรงงานอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • อลงกต สุตคุณสันติการ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสรีย์ ตู้ประกาย รองศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช รองศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มงคล รัชชะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Corresponding author
  • โกวิท สุวรรณหงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

คาร์บอนฟุตพริ้นท์, ก๊าซเรือนกระจก, คอมเพรสเซอร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและใช้วิธีการประเมินตามวัฏจักรชีวิตแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ (Business to Business: B2B) จากผลการศึกษาพบว่าการได้มาซึ่งวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์คอมเพรสเซอร์ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดมีค่าเท่ากับ 139 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เครื่อง หรือคิดเป็น 88% โดยมีสาเหตุหลักมาจากค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Emission Factor)ของวัตถุดิบนั้นมีสัดส่วนการปลดปล่อยที่สูงเมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่นๆ โดยกระบวนการผลิตพบว่ามีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 19 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เครื่อง หรือคิดเป็น 12% และเมื่อพิจารณาการผลิตคอมเพรสเซอร์ตลอดวัฏจักรแบบธุรกิจสู่ธุรกิจจะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 158 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เครื่อง โดยมาตรการที่แนะนำเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แก่การพิจารณาการใช้วัสดุทดแทนที่มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าและการอนุรักษ์พลังงานในการตรวจสอบและบํารุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์

References

กลุ่มงานวิเคราะห์และพัฒนากลไก สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(2558).บทสรุปรายงาน IPCC ฉบับที่ 5 สำหรับผู้กำหนดนโยบาย. บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด: นนทบุรี.

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์. (2556). ภาษีคาร์บอน : ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อการลดภาวะโลกร้อน.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 19(1): 16-29

อรุณลักษณ์ จิรธนภิญโญ. (2562). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับบทบาทการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้าของไทย. วารสาร สิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (1).

สุปวีณ์ กรดเสือ. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อน.วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์. 3(1): 1-16

พรรณทิพย์ แตงอ่อน. (2557). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควัน : กรณีศึกษาโรงงานสหกรณ์กองทุนสวนยาง จ.สงขลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุพรรณี มีสุขและดร.สุพรรณนิกา วัฒนะ. (2565). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เบียร์. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 23 25 มีนาคม 2565. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 213-225.

กุลภรณ์ บุญชู, ชนกกานต์ พึ่งชาติ, ฐปนก วงศ์ศิริและณัฐฐา นาคศิริ. (2565).การปรับปรุงเส้นทางการเดินรถเพื่อสนับสนุนแนวคิด Green Logistics: กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด.วารสารวิชาการวิทยาการจัดการ Journal of Management Sciences มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 1(1): 22-40

แมนมนัส ศรีแก้ว และสายันต์ แสงสุวรรณ. (2563). วัสดุมหัศจรรย์แกรฟีน : กลยุทธ์การสังเคราะห์ สมบัติ การพัฒนา.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 22(2): 39-49

สุธน พิทักษ์. (2550). การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา บริษัท อีพีอี แพคเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29