การปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการบรรจุสินค้าเพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทกระจายสินค้าแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ธมนภัทร นิยม นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มงคล รัชชะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Corresponding author
  • เสรีย์ ตู้ประกาย รองศาสตราจารย์ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นันท์นภัสร อินยิ้ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

การปรับปรุงสถานีงาน, ท่าทางการทำงาน, การยศาสตร์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของพนักงานบรรจุสินค้าออนไลน์ ก่อนและหลังการปรับปรุงสถานีงานและเพื่อออกแบบปรับปรุงสถานีงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ โดยทำการศึกษากับพนักงานบรรจุสินค้าออนไลน์ของบริษัทกระจายสินค้าแห่งหนึ่งจำนวน 4 คน และประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ด้วยวิธี REBA (Rapid Entire Body Assessment) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติ Paired Samples T-Test
     ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานบรรจุสินค้าออนไลน์ก่อนปรับปรุงสถานีงานมีความเสี่ยงสูงมาก (ค่าเฉลี่ย 12.25±1.71) จึงทำการปรับปรุงสถานีงานโดยการติดตั้งตัวปรับระดับความสูงของโต๊ะที่สามารถปรับระดับได้และปรับปรุงท่าทางการทำงานให้เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ภายหลังการปรับปรุงดังกล่าว มีความเสี่ยงปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 5.25±0.50) แสดงให้เห็นว่า ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานบรรจุสินค้าภายหลังการปรับปรุงสถานีงานร่วมกับการปรับปรุงท่าทางการทำงานมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value<0.05)

References

ธมนภัทร นิยม, เสรีย์ ตู้ประกาย, นันท์นภัสร อินยิ้ม, มงคล รัชชะ, สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย และพรนิภา บริบูรณ์สุขศรี. การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพด้านการยศาสตร์ในกลุ่มพนักงานบรรจุหลอดไฟฟ้า. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 14 หัวข้อ “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”; วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2566; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์; สุรินทร์: มหาวิทยาลัย; 2566. B14-B23.

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. รายงานสถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2561 – 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ค. 66] เข้าถึงจาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/db6f8f6abcb97a58d67a0d14f2d14a73.pdf.

Basahel AM. Investigation of work-related Musculoskeletal Disorders (MSDs) in warehouse workers in Saudi Arabia. Procedia Manufacturing 2015; 3:4643–4649

โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ. กระดูกสันหลัง. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 66] เข้าถึงจาก: https://kdmshospital.com/article/backache/

ศรุดา จิรัฐกุลธนา. การยศาสตร์และปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่ทำให้เกิด Musculoskeletal Disorders. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 1 ธ.ค. 66] เข้าถึงจาก: https://www.ohswa.or.th/17805876/ergonomics-and-workstation-design-series-ep1

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. โรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน.[อินเตอร์เน็ต].2561 [สืบค้นเมื่อ1 ธ.ค. 66] เข้าถึงจาก: https://inenvocc.ddc.moph.go.th/envoccsmart/app/knowledge/detail/3

วิทยา อยู่สุข. อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2552.

Ratcha M, Kittijaruwattana J, Tuprakay S, Surach A. A Systematic Review: Using Trends of Ergonomic Risk Assessment Tools. Health Sci J Thai 2023; 5(4):49-58.

ขนิษฐา มีวาสนา, พัณณิตา กลมกลาง, กุลภัทร กำแพงใหญ่, วริศรา งิ้วเรือง, ชลนิดา ดุงสูงเนิน, ศิริรัตน์ มีใบลา, อรวรรณ ล้ำเลิศ, ณัฐพิชญ์ รัตนโชติเรืองสุข และเฉลิมสิริ เทพพิทักษ์. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และปรับปรุงสถานีงานสำหรับกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดดอกหญ้า ตำบลบิง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการยศาสตร์ไทย 2563; 3(2):23-31

ศิริพงษ์ หมูคำ, ศรชัย ปอนตา, สุเทพ มหัคคตจิตต์ และ พงศกร สุรินทร์. การประเมินท่าทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการซ่อม ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต 2558; 5(1):13-29.

Scott Openshaw and Erin Taylor. Ergonomics and Design A Reference Guide. Lowa: Allsteel Inc.; 2006.

International Labour Organization. Your health and safety at work ergonomics [Internet]. 2012[cited 2023 May 26]:1-31. Available from; https://www.indevagroup.com/wp-content/uploads/2014/02/Basic_Ergonomics_Principles.pdf

Hignett S. and McAtamney L. Rapid entire body assessment (REBA). Applied Ergonomics 2000; 31: 201-205.

รัชชี จูมจี, พชร วารินสิทธิกุล, กุลวรรณ โสรัจจ์, ธีรวรรณ บุญโทแสง, อนุวัฒน์ ยินดีสุข, ศศิธร อดิศรเมธากุล และพัฒนศักดิ์ ปทุมวัน. การออกแบบสถานีงานเพื่อลดปัญหาด้านการยศาสตร์สำหรับพนักงานรื้อถอนชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษา บ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการยศาสตร์ไทย 2566; 6(1):13-24.

วรรณลักษณ์ แสงโสดา, สุดารัตน์ วงศ์วีระเกียรติ และเลิศชัย ระตะนะอาพร. การปรับปรุงสถานีงานเพื่อลดความเมื่อยล้าและการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อสำหรับพนักงานประกอบในอุตสาหกรรมผลิตกล้องวงจรปิด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 14: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน; วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560; นครปฐม: มหาวิทยาลัย; 2560. 612-623.

Meisam Moradi, Mohsen Poursadeghiyan, Alireza Khammar, Mahsa Hami, Afshin Darsnj and Hamed Yarmohammadi. (2017). REBA method for the ergonomic risk assessment of auto mechanics postural stress caused by working conditions in Kermanshah (Iran). Annals of Tropical Medicine and Public Health 2017; 10(3):589-594.

ศุภลักษณ์ สุวรรณ และสุรชัย สานติสุขรัตน์. การปรับปรุงท่าทางการทำงานของการผลิตโคมล้านนา โดยใช้หลักการยศาสตร์ กรณีศึกษา: กลุ่มสตรีผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) 2566; 12(1):25-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29