การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตที่มีความเสี่ยงสูงและได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุวิมล บุญโสดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคไต , ความเสี่ยงสูง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค เปรียบเทียบข้อวินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์ทางการพยาบาล เป็นกรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมร่วมกับได้รับยาเคมีบำบัด ที่มารับการรักษาในหน่วยไตเทียม กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติร่วมกับการสังเกต มีการประเมินสภาพ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล ใช้แนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน เป็นกรอบในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

     ผลการศึกษาพบว่ากรณีศึกษาที่ 1 เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วเกิดภาวะเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายทำให้ไตเสียหน้าที่เฉียบพลัน ได้รับการแก้ไขปัญหาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพื่อขับเกลือแร่ส่วนที่เกินออกจากร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ไตกลับมาทำงานได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องฟอกเลือดต่ออีก กรณีศึกษาที่ 2 เป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ฟอกเลือดประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง มีปัญหาเรื่องซีด มีถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ผลตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเป็น CA sigmoid ได้รับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ หลังผ่าตัดแพทย์ให้การรักษาต่อโดยใช้ยาเคมีบำบัดสูตร 5-FU/Leucovorin (Day 1-5 ) ทุก 4 สัปดาห์ จำนวน 6 Cycle 

References

คมกฤช มหาพรหม . ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง. [ระบบออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.nakornthon.com/article/detail/ยาเคมีบำบัดจัดการมะเร็ง

ปณิดา ปิยะจตุรวัฒน์. รู้ทันสัญญาณเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่. [ระบบออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก

https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/colon-cancer

พรเพ็ญ แสงถวัลย์. High anion gap metabolic acidosis. ใน: พงศธร คชเสนี, โอภาส ไตรตานนท์, บัญชา สถิระพจน์, ธนันดา ตระการวนิช, บรรณาธิการ. Comprehensive review of nephrology. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2562. หน้า 104-105.

รณิษฐา รัตนะรัต. การควบคุมเมตาบอลิกในผู้ป่วยวิกฤติโดยการรักษาทดแทนไต. ใน: มณฑิรา มณีรัตนะพร, ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์, สุรัตน์ ทองอยู่, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ทันยุค 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; 2561. หน้า 145-152.

วณิชา พึ่งชมภู . การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. [ระบบออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.cmupress.cmu.ac.th/uplodes/book

อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์. Acute kidney injury. ใน: บัญชา สถิระพจน์, พงศ์ธร ณรงค์ฤกษ์นาวิน, อำนาจ ชัยประเสริฐ, จันทราภา ศรีสวัสดิ์, วิชัย ประยูรวิวัฒน์, บรรณาธิการ. Clinical practice in medicine. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2560. หน้า 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

บุญโสดา ส. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตที่มีความเสี่ยงสูงและได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 251–256. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1899