การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในท่อถุงดีที่มีโรคร่วม : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
นิ่วในท่อน้ำดี, นิ่วในถุงน้ำดี, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีที่มีโรคร่วม ให้มีความปลอดภัย และป้องกันการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน โดยผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดช่องท้องที่มีโรคร่วม โดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน จากพยาธิสภาพ อาการ อาการแสดง การรักษาโดยการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ปัญหา และข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด รวมถึงการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง ดำเนินการศึกษาในช่วง เดือน ตุลาคม 2563 ถึงเดือน ธันวาคม 2563
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทยอายุ 50 ปี มีประวัติโรคความดันโลหิตสูง รับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และควบคุมความดันโลหิตได้ดี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ ปวดแน่นท้อง อาเจียน หลังรับประทานอาหาร เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง 2 เดือนก่อน มีอาการไข้ ปวดท้องด้านขวา รับการรักษาภาวะ cholangitis ด้วยการทำ Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography (ERCP) แพทย์วินิจฉัย Common bile duct stone with Acute Cholecystitis ได้รับการผ่าตัด Open Cholecystectomy รวมระยะเวลาผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 13 วัน กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทยอายุ 75 ปี มีโรคร่วมคือโรคความดันโลหิตสูง รับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และควบคุมความดันโลหิตได้ดี มาโรงพยาบาลด้วยอาการหลังรับประทานแกงขี้เหล็ก แล้วมีอาการปวดท้องด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เป็นมา 1 วัน แพทย์วินิจฉัย Common bile duct stone with Acute Cholecystitis ได้รับการผ่าตัด Open Cholecystectomy หลังจากได้รับการรักษาพยาบาลแล้วผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น รวมระยะเวลาผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 6 วัน
References
กนกวรรณ ฤทธิ์ฤดี. การพยาบาลผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา. Singburi Hospital Journal, 30(3); 76-85.
ข้อมูลงานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
ชญาดา เกตุรัตน์กุล. (2561) คู่มือปฏิบัติงานช่วยการพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง. กรุงเทพฯ: ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (สืบค้นเมื่อ กันยายน 2566) เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahaidol.ac.th.
ดรินทร์ โลห์สิริวัฒน์. นิ่วในถุงน้ำดี(อินเทอร์เน็ต). กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (สืบค้นเมื่อ กันยายน 2566) เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahaidol.ac.th.
พรศิริ พันธสี. (2562). กระบวนการพยาบาล & แบบแผยสุขภาพ: การประยุกต์ทางคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
รัชนี เบญจธนัง และคณะ. (2558) การพยาบาลศัลยศาสตร์วิกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ:แบบองค์รวม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: พี.เค.เค.ปริ้นติ้ง
อรอนงค์ ทัพสุวรรณ์. (2559) คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อน้ำดีที่ได้รับการสิ่งกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดีและตับอ่อน. กรุงเทพฯ: ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (สืบค้นเมื่อ กันยายน 2566) เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahaidol.ac.th.
Black, J. M. & Hawks, J. H. (2010). Medical-Surgical nursing (8th edition). Saunders Elsevier.