กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง, การพยาบาล, ทวารเทียมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง กรณีศึกษา 2 ราย เลือก ผู้ป่วยแบบเจาะจง ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย จากผู้ป่วยและญาติ ตั้งแต่ระยะแรกรับจนถึงจำหน่าย ใช้แนวคิดการประเมินสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนและทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็มมาใช้ เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยเพื่อวางแผนการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ให้การพยาบาลทั้ง ระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 73 ปี ได้รับการวินิจฉัย เป็นโรคมะเร็งลำไส้ตรง ระยะลุกลามไปที่ตับ ผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง อาการทุเลาจำหน่ายกลับบ้าน กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 65 ปี ได้รับการวินิจฉัย เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ระยะลุกลามไปที่ปอดและตับ ผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง อาการไม่ทุเลา เลือกการรักษาแบบประคับประครองและกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
References
จุฬาพร ประสังสิต. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. บทความวิชาการ การศึกษาต่อเนื่องสาขาการพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 18 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง. กรุงเทพ: ศิริยอดการพิมพ์; 2561.
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. สถิติข้อมูลผู้บริการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ประจำปี 2563 - 2565. 2566.
วิภาวดี ว่องวรานนท์. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรงและทวารหนักที่มีทวารเทียม ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์; 2560.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]; กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/e_ book/hosbased_2564/ index.html
สายพิณ สุทธิสุวรรณ. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้และต่อลำไส้ใหญ่ส่วนปลายแบบ Low Anterior Resection: กรณีศึกษา 2 ราย. เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph.go.th/ amno_new/ index.php?option=com_content&task=view&id=4204&Itemid=402
องค์การอนามัยโลก. (2565). รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยฉบับที่ 214. เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int/
อรอนงค์ ทัพสุวรรณ์. คู่มือการพยาบาล ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการ ผ่าตัด. งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. [อินเทอร์เน็ต]. มปท; c2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 มิถุนายน 2566].เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/ division/nursing/sins/attachments/article/193/ CAcolon.pdf
American Cancer Society. Cancer Facts & Figures 2021. Atlanta: American Cancer Society; 2021. PP.71-13. [internet]. [Cited 2023 Sep 5]. Available from: https://bcan.org/wp-content/uploads/ 2021/01/cancer-facts-and-figures-2021.pdf
Oncology Nursing society. Toolkit for safe Hadling of Hazardous Drugs for Nurses in Oncology. [Internet]. 2018. [cited 2023 JUN 8] from: http://ons.org/clinical_practice_ resources/ toolkit_ safe_handling_Hazard_drugs_nurse_oncology.