การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
มะเร็งเต้านม, การพยาบาล, การผ่าตัด, Modified radical mastectomyบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาโดยการผ่าตัดและผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาโดยการผ่าตัดปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาโดยการผ่าตัดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ใน ปี พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ใช้แนวคิดการประเมินสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนและทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็มมาใช้
ผลการศึกษา กรณีศึกษารายที่ 1 เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแบบ Modified radical mastectomy กรณีศึกษารายที่ 2 รับการผ่าตัด Modified radical mastectomy with latissimus dorsi flap with Split-thickness skin graft ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะ แทรกซ้อนจากการผ่าตัด พบปัญหาทางการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และการวางแผนจำหน่ายคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันในบางประเด็น ดังนั้น การนำแนวคิดการประเมินสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน และทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็มมาใช้ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้พยาบาลสามารถประเมินสภาพผู้ป่วย วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลได้ถูกต้องครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัยและได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ
References
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. สถิติข้อมูลผู้บริการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ประจำปี 2563 - 2565. 2566.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]; กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/e_book/hosbased 2564/index.html.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านม. [อินเตอร์เน็ต]; กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2560. [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/cpg/ CPG_มะเร็งเต้านม_62.pdf
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติNational Cancer Control Programme (พ.ศ. 2561-2565). [อินเตอร์เน็ต]; กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/แผนการควบคุมป้องกันมะเร็ง.pdf
อัจฉราภรณ์ ม่วงมุลตรี, กุมาสีพร ตรีสอน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566;(16): 103-89. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-haijo.org/index.php/ RDHSJ/ article/view/ 262000/180415
องค์การอนามัยโลก. รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยฉบับที่ 214. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int/
American Cancer Society. Cancer Facts & Figures 2021. Atlanta: American Cancer Society; 2021. PP.71-10. [Internet]. [cited 2023 Sep 5]. Available from: https://bcan.org/wp- content/uploads/ 2021/01/cancer-facts-and-figures-2021.pdf
Oncology Nursing society. Toolkit for safe Hadling of Hazardous Drugs for Nurses in Oncology. [Internet]. 2018. [cited 2023 JUN 8] Available from: http://ons.org/clinical_practice_ resources/ toolkit_safe_handling_Hazard_drugs_nurse_oncology.