การศึกษาความแม่นยำของผลเซลล์วิทยาจากการเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก เพื่อวินิจฉัยมะเร็งก้อนที่ต่อมไทรอยด์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กนกอร เรืองศิลปานันต์ แพทย์อายุรกรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ศศิลักษณ์ ไชยเดือน แพทย์อายุรกรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • จิรวัฒน์ ธเนศธาดา แพทย์อายุรกรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ก้อนต่อมไทรอยด์, เซลล์วิทยา, เจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยวิธี Retrospective cross sectional diagnostic study เพื่อศึกษาความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำของผลเซลล์วิทยาจากการเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก, positive predictive value, negative predictive value โดยเปรียบเทียบกับผลพยาธิวิทยา และเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งก้อนที่ต่อมไทรอยด์  โดยศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยก้อนต่อมไทรอยด์ ที่ได้ทำการเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก และได้ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Sensitivity, specificity และ diagnostic accuracy ของ Fine needle aspiration cytology, positive predictive value, negative predictive value ถูกคำนวณโดย frequency, percentage และ p-value โดย Chi square

     ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยก้อนต่อมไทรอยด์ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์งานวิจัยจำนวน 188 คน โดย เป็นเพศชาย 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 และเป็นเพศหญิง 179 คน คิดเป็นร้อยละ 95.2 มีอายุเฉลี่ยรวมทั้งหมด 50 ปี จากการศึกษานี้ ผลเซลล์วิทยาการเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็กเทียบกับผลพยาธิวิทยา  พบค่าความไว 91.3%   ค่าความจำเพาะ 37%     โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P=0.000)         Positive predictive value 45.6% Negative predictive value 88% และ ค่าความแม่นยำ (Accuracy rate) 64.29% โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.265) อาการที่สัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งก้อนที่ต่อมไทรอยด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และน้ำหนักลด และพบว่าหากใช้อัลตราซาวด์ในการช่วยเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก (Ultrasonographic-guided FNA) จะทำให้ผลเซลล์วิทยาแม่นยำมากขึ้น สัมพันธ์กับการวินิจฉัยมะเร็งก้อนที่ต่อมไทรอยด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Bryan R H. et al. American Thyroid Association Management Guidelines for Adult Patients with Thyroid Nodules and Differentiated Thyroid Cancer. Thyroid. 2016 Jan 1; 26(1): 1-133.

Kenneth D. B. and Leonard W. Thyroid Nodules. N Engl J Med. 2015 Dec 10; 373(24): 2347-55.

Saeed A M. et al. Fine needle aspiration cytology of thyroid nodule: diagnostic accuracy and pitfalls. J Ayub Med Coll Abbottabad. 2006 Oct-Dec; 18(4):26-9.

Banlue U. Sensitivity and specificity of fine needle aspiration cytology in solid neck mass. Srisaket Surin Burriram Hospitals J Med. 2019; 34(1):13-22.

Chalermkiat S. Diagnostic accuracy of fine needle aspiration biopsy for detection of malignancy in thyroid nodules in Somdet Phra Phuttha Loetla Hospital. Royal Thai Army J Med. 2020; 73(1):39-49.

Pongsilp T. Sensitivity and specificity of fine needle aspiration cytology in thyroid nodules in one tertiary center of Thailand. Mahasaraham Hospital J Med. 2021; 18(3): 49-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

เรืองศิลปานันต์ ก., ไชยเดือน ศ., & ธเนศธาดา จ. (2023). การศึกษาความแม่นยำของผลเซลล์วิทยาจากการเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก เพื่อวินิจฉัยมะเร็งก้อนที่ต่อมไทรอยด์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 368–376. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1915