การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อกร่วมกับมีภาวะไตวายเฉียบพลัน กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อุไร มิตรปราสาท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, ไตวายเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ เพื่อเป็นแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อกและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน เป็นการศึกษาข้อมูลรายกรณี 2 ราย รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยนำแนวคิดและแบบแผนการประเมินสุขภาพ (Functional health pattern) ตามทฤษฎีทางการพยาบาลของกอร์ดอน (Marjory Gordon) มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

     ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย ชายไทย อายุ 62 ปี ประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 และ Hypertension และ CKD stage 3 มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ หายใจเหนื่อยหอบ ก่อนมา 8 ชั่วโมง ไม่มีไข้ มีอาการปวดเอว ปัสสาวะออกลดลงมา 2 วัน มีภาวะ Septic shock ไม่ได้ Activate sepsis protocol จากโรงพยาบาลชุมชน ผู้ป่วยมีภาวะ hypodynamic ส่งผลให้เกิดระบบการหายใจล้มเหลวอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ มี Organ dysfunction 3 ระบบ ได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบการหายใจ และ ระบบไต ผู้ป่วยได้รับการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม รวมอยู่รักษา 4 วัน ผู้ป่วยปลอดภัย Refer กลับโรงพยาบาลชุมชน กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทยอายุ 77 ปี มีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, Hypertension, Hyperlipidemia, old CVA และ CKD stage 3 มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจเหนื่อยหอบมา 1 วัน Lactate 3.8 mmol/L มีภาวะภาวะติดเชื้อขั้นรุนแรง ได้ activate sepsis protocol จากโรงพยาบาลชุมชน เกิดระบบการหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ มี Organ dysfunction 2 ระบบ ได้แก่ ระบบการหายใจ, ระบบไต เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น รวมอยู่รักษา 4 วัน ผู้ป่วยปลอดภัย Refer กลับโรงพยาบาลชุมชน

References

Dugar S, Choudhary C, Duggal A. Sepsis and septic shock: Guideline-based management. Cleve Clin J Med. 2020 Jan;87(1):53–64.

Makic MBF, Bridges E. CE: Managing Sepsis and Septic Shock: Current Guidelines and Definitions. Am J Nurs. 2018 Feb;118(2):34–9

The Third International Consensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3) | Critical Care Medicine | JAMA | JAMA Network [Internet]. [cited 2023 Sep 22]. Available from: https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2492881

กัญญ์ณพัชญ์ ศรีทอง, พยอม ถิ่นอ่วน, กรรวี ฟูเต็มวงค์, นันท์นลิน นาคะกุล, พิริพัฒน์ เตชะกันทา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการทางคลินิกทรุดลงในผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใน 72 ชั่วโมง. วารสารกองการพยาบาล. 2023 Aug 28;50(2):16–29

จุรีรัตน์ เกิดโสฬส, การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดรว่มกับภาวะไตวายเฉียบพลัน : กรณีศึกษา, วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน 2563): 56-67.

จริยา พันธุ์วิทยากุล, จิราพร มณีพราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. ว.กองการพยาบาล 2561;45(1):86-104.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2565). รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.

แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ11แบบแผนของกอร์ดอน - ค้นหาด้วย Google [Internet]. [cited 2023 Sep 22]. Available from: https://www.google.com/search

ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ, สุนัญญา พรมตวง, จันทนา แพงบุดดี. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตด้วยระบบทางด่วน โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย, 6(1), 36-51.

พรนภา วงศ์ธรรมดี, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮ เซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อใน กระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม. วารสารการ พยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2562; 1(1): 33-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

มิตรปราสาท อ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อกร่วมกับมีภาวะไตวายเฉียบพลัน กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 393–402. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1921