การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดDiabetic Ketoacidosis:กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อุมาพร จันทะหะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน, เบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดDiabetic Ketoacidosis

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis (DKA) เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เปรียบเทียบตั้งแต่ระยะฉุกเฉินวิกฤต ระยะดูแลต่อเนื่อง และระยะวางแผนจำหน่าย รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อวางแผนปฏิบัติการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล 

     ผลการศึกษาพบว่า:ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis (DKA) ของกรณีศึกษา 2 ราย ที่รับเข้ารักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 3 โรงพยาบาลขอนแก่น มีอาการและอาการแสดงคล้ายกัน ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงและมีค่า ketone สูง แต่ต่างกันที่ เป็นเบาหวานคนละชนิด มีอายุที่แตกต่างกัน อีกรายมีโรคร่วมและ อีกรายไม่มีโรคร่วม ในกรณีศึกษารายที่ 1 เป็น DM type 1 อายุน้อยไม่มีโรคร่วม ขาดยาเบาหวานมา 2 ปี มีภาวะวิกฤตทางระบบหายใจ มีความยุ่งยากซับซ้อนในการดูแลรักษามากกว่า แต่ใช้เวลารักษาน้อยกว่าเนื่องจากมีอายุน้อยและระยะเวลาในการมาโรงพยาบาลเร็วกว่า ในขณะที่ กรณีศึกษารายที่ 2 เป็น DM type 2 เป็นผู้สูงอายุมีโรคร่วม โดยการศึกษาพบว่า อายุที่มากขึ้นจะควบคุมโรคได้ยากขึ้นต้องใช้ระยะเวลารักษานานมากขึ้น

References

นกพจน์ จันทร์ภิวัฒน์และคณะ.(2563).แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอายุรศาตร์.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร

จิราภรณ์ ชิณโสม.(2020).การพยาบาลผู้ป่วยภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดDiabetic Ketoacidosis(DKA).รายกรณีศึกษา chiayaphum medical jounal.v.40 No .2

นุชระพี สุทธิกุล ,สุมาลี จารุสุขถาวร ,และ เยาวภา พรเวียง.(2564).การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับสารคีโตนคั่งในระยะวิกฤต.วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 31(1), 14-32

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2564). รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น

รัชนี เบญจธนัง และพิพพ์จิตร์ กาญจนสินธุ์. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ บริษัท ลีฟ วิ่ง เอ พี. หน้า 93 – 119.

ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรมองข้าม.ค้นหาด้วยGoogle (Internet).(17พ.ย.2565) . https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/211

วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประ ชาพาณิชย์, 2556). หน้า 311-344.

วรรณี นิธิยานันท์. (2563). ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก’ ต้นเหตุ. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2019/11/18014

สุวรรณี สร้อยสงค์และคณะ.(2560).พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี.28(2).93-103

เสาวนีย์ พรประภา (2564).การพยาบาลผู้ป่วยภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis. รายกรณีศึกษา วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและชุมชน.ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค.64.

ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรมองข้าม.ค้นหาด้วยGoogle (Internet).(17พ.ย.2565) https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/211

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

จันทะหะ อ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดDiabetic Ketoacidosis:กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 403–410. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1922