การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA) : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic ketoacidosis, การพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ เพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA) ตั้งแต่ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟู ดูแลต่อเนื่อง และระยะวางแผนจำหน่าย รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน ค้นหาปัญหาของผู้ป่วย และกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA) โดยกรณีศึกษาทั้งสองรายได้เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 ผู้ป่วยทั้งสองรายมีความเหมือนกันคือเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA) ซึ่งถือเป็นภาวะวิกฤตของโรคเบาหวาน ที่ต้องให้การรักษาโดยการให้สารน้ำ ให้อินซูลินทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง และปรับอินซูลินตามระดับน้ำตาลในเลือด ความแตกต่างกันคือ รายที่ 1 เป็น Diabetic Ketoacidosis with coma มีภาวะแทรกซ้อนวิกฤตหลายระบบ มีความยุ่งยากในการดูแลรักษามากกว่า ต้องย้ายเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม และใช้เวลาในการรักษานาน ในขณะที่รายที่ 2 เป็น Diabetic Ketoacidosis without coma ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่า
References
กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น. (2553).โรคเรื้อรังทางอายุรกรรม 2. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
จิราภรณ์ ชิณโสม. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA): กรณีศึกษา. ชัยภูมิเวชสาร, 40(2)115-132.
ณีรชา บุญมาตย์. (2556). การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐยา พรมวัง, ปราณต์ ณ รังษี.(2565). อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะคีโตอะซิโดซิสในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลหาดใหญ่. Journal Med Health, 29(3)81-92.
นฤมล ฮามพิทักษ์. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด:กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3)451-461.
แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน. ค้นหาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566, จาก www.google.com/search
ภานุพงษ์ รัตนวรรณี. (2564). ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (DKA) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลเซกา. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 8(2)5-14.
มรดก หมอกไชย. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3)437-450.
วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต : แบบองค์รวม. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์. หน้า 311-344.
วิวัฒน์ เหล่าชัย, รุ่งโรจน์ สลับ, เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, ลัดดาวัลย์ เตซางกูร, ประทิน ชิ้นปิ่นเกลียว, ณัฐธยาน์ เกิดมาลัย. (2564). การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน : กรณีศึกษา. วชิรสารการพยาบาล, 23(1)84-97.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน.
สมร เรือนดี. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดคีโตนคั่งร่วมกับภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน. ค้นหาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566, จาก www.ayhosp.go.th
สุนิสา พลนอก. (2563). กรณีศึกษา : การพยาบาลผูปวย Diabetic ketoacidosis. ค้นหาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566, จาก www.mnrh.go.th pdf file academic
เสาวณีย์ พรประภา. (2564).การพยาบาลผู้ป่วยภาวะน ้าตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic ketoacidosis. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(2)54-59.
Kidney International Supplements. AKI Definition. KDIGO Clinical Practice Guideline for Acute Kidney Injury 2012; 2:19-36.
Kidney International Supplements. Definition and classification of CKD. KDIGO Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease 2013; 3:19-62.