การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลบ้านฝาง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ มาสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล, โรคเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย โดยนำกระบวนการพยาบาล และหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ (7 Aspect of Care) เป็นแนวทางในการดูแล ผู้ป่วยรายที่ 1 ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน มีโรคร่วมคือ ไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเก๊าท์ รายที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน มีโรคร่วมคือ ไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวบรวมข้อมูลภาวะสุขภาพผู้ป่วยอย่างครบถ้วน ทำให้ได้รับข้อมูลครบถ้วนมีคุณภาพเพียงพอแก่การวินิจฉัยปัญหาการวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผลการพยาบาลจากการติดตามประเมินอาการผู้ป่วยมาตรวจรักษาตามนัดที่คลินิกโรคเรื้อรัง จำนวน 3 ครั้ง และติดตามเยี่ยมบ้าน 1 ครั้ง ทั้ง 2 ราย เพื่อติดตามและประเมินผลการพยาบาล ปรับแผนการให้การพยาบาลให้สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยและญาติ

     ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการพยาบาลที่เหมือนกันของผู้ป่วย คือ มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน มีความดันโลหิตสูงและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสมกับโรคความดันโลหิตสูง ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนไตวายเนื่องจากการทำงานของไตลดลงและการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมเหมาะสม เสี่ยงต่อการได้รับยาฉีดควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ตามแผนการรักษา เสี่ยงต่อเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเนื่องจากมีภาวะซีด ปัญหาที่ต่างกันคือ ในผู้ป่วยกรณีรายที่ 1 เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายพลัดตกหกล้มจากการปวดข้อเท้าและเข่ามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปวดข้อเท้าและเข่า ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 มีปัญหาเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการมองเห็นไม่ชัดเจนและมีอาการปลายมือปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังและการบำบัดทดแทนไต เนื่องจากมีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 5 ทำให้ประสิทธิภาพการขับยาออกทางไตลดลง กิจกรรมการพยาบาลของผู้ป่วยทั้ง 2 รายมุ่งเน้นให้ความรู้ คำแนะนำ ฝึกปฏิบัติให้การดูแล ติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ สร้างแรงจูงใจ และเสริมพลัง ผลการพยาบาลทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมกับภาวะโรคที่เป็น ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลในระดับมาก

References

กันตพร ยอดไชย. (2562). ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง: การพยาบาลและการจัดการอาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา:นีโอพ้อยท์.

ธีรพร สถิรอังกรู, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริและพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์, บรรณาธิการ.(2561). แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. ปทุมธานี:สำนักพิมพ์สื่อตะวันจำกัด.

สีไพร พลอยทรัพย์และคณะ, บรรณาธิการ. (2563). แดชไดเอทบำบัดโรคความดันโลหิตสูง.กรุงเทพมหานคร: วี อินดี้ ดีไซน์ จำกัด.

เทพ หิมะทองคำ และทีมสหวิชาชีพดูแลเบาหวาน โรงพยาบาลเทพธารินทร์. (2561). เบาหวานฉบับเทพธารินทร์.กรุงเทพมหานคร:พิมพ์ดี จำกัด.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย.(2566). แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับโรคเบาหวาน 2566: Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2559). คำแนะนำการฉีดยาเบาหวานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์เมดิคัส จำกัด.

สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562: 2019 Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension. เชียงใหม่: ทริคธิงค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31