การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อินทิรา แก้วเกิด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis), ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory failure)

บทคัดย่อ

     วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis) เป็นปัญหาสาธารณสุขและสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศ การติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่จะเกิดการติดเชื้อที่ปอด (ร้อยละ80) ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคอาจจะมีอาการแสดงหรือไม่มีอาการของวัณโรคก็ได้ การติดเชื้อที่ปอดมีผลทำให้การทำงานของปอดผิดปกติไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าชหรือระบายอากาศให้อยู่ในระดับปกติได้ จนนำไปสู่ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งเป็นภาวะวิกฤติที่คุกคามต่อชีวิตและส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตสูงเพิ่มขึ้น

     วัตถุประสงค์  ศึกษาและเปรียบเทียบ เพื่อเป็นแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

     วิธีการศึกษา  เป็นการศึกษาข้อมูลรายกรณี (Case study) 2 ราย คัดเลือกกรณีศึกษาเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร ตำรา ผลงานวิชาการ บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาปัญหา กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

     ผลการศึกษา กรณีศึกษา 2 ราย วินิจฉัย Pulmonary Tuberculosis with acute respiratory failure

     กรณีศึกษารายที่ 1  หญิงไทย อายุ 24 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัว มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ ไข้สูง ซึม หายใจเหนื่อยหอบ ก่อนมา 3 ชั่วโมง  พบว่ามีการติดเชื้อวัณโรคที่ปอดและเกิดระบบหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันและรุนแรง ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่งผลให้เกิดระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายผิดปกติ ได้แก่ ระบบประสาท ,ระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือด ,ระบบการหายใจ ,ระบบไต เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น รวมอยู่รักษา 26 วัน ผู้ป่วยปลอดภัย  ส่งตัวกลับไปรักษาต่อโรงพยาบาลชุมชน

     กรณีศึกษารายที่ 2  ชายไทย อายุ 70 ปี มีประวัติเป็น Pulmonary Tuberculosis พ.ศ. 2562รับประทานยาครบ 6 เดือน ไม่มีประวัติโรคประจำตัว มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ ไข้ ไอมีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อยก่อนมาก่อนมา 1 วัน ขณะ Admit ที่โรงพยาบาลชุมชน ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน Mask C bag 10 LPM และส่งต่อมาโรงพยาบาลขอนแก่นติดเชื้อวัณโรคที่ปอดและเกิดระบบหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันและรุนแรง ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ มีหนองในเยื่อหุ้มปอด ใส่สายเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด (Intercostal drainage) ที่ปอดด้านซ้าย ส่งผลให้เกิดระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายผิดปกติ ได้แก่ ระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือด ,ระบบการหายใจ ,ระบบไต เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น  รวมอยู่รักษา 37 วัน ผู้ป่วยปลอดภัย  กลับบ้านได้

     อภิปรายผล   จากกรณีศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยหลังจากที่ Admit แล้วจึงพบว่าติดเชื้อวัณโรคปอด  ซึ่งเมื่อมีการติดเชื้อวัณโรคปอดเชื้อจะเข้าไปทำลายเนื้อปอด ทำให้โอกาสเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างของเพศ อายุและภาวะสุขภาพ แต่ผู้ป่วยยังมีโอกาสในการรอดชีวิตสูง ซึ่งพยาบาลสามารถการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ Early warning signs ร่วมกับอาการและอาการแสดงของภาวะหายใจล้มเหลว เพื่อประเมิน คัดกรอง และ เฝ้าระวังอาการทรุดลงได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีสมรรถนะ เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างได้มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยปลอดภัย และลดอัตราการเสียชีวิต หลังจำหน่ายกลับไปดำรงชีวิตได้ปกติ ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อ

References

Narumon Hampitak. (2566). Nursing care of patents with septic shock : Two case studies. Journal of Health and Environmental Eucation, 8(3), 451-461

Urai Mitprasat.(2563). Nursing care of Pneumonia Patients with Acute Respiratory Failure and Septic : Two case Studies. Journal of Health and Environmental Eucation, 5(4), 144-152

กนกกร สุนทรขจิต. (2558). โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opporturistic Infectious) วัณโรค(Tuberculosis) สืบค้น 24 พ.ย. 2566 จาก http://www.Wongkampat.com

คู่มืออบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานวัณโรค (Training Modules for Tuberculosis Personnel)

พิมพ์ครั้งที่1.(2563). กรุงเทพฯ : กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์

จิราภา ละอองนวล. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ. วรสารโรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. ปีที่29 (1). 15-24

ธนรัตน์ พรศิริรัตน์, ยุพิน พูลกำลัง. (2561). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลวฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกแบบใช้หน้ากากช่วยหายใจ. กรุงเทพฯ : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ธีรพงศ์ โตเจริญโชค. การใส่สายระบายทรวงอก (Chest Tube insertion). สืบค้น 24 พ.ย. 2566 จาก http://www.si.mahidol.ac.th

แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ11แบบแผนของกอร์ดอน (2562). สืบค้น 22 พ.ย.. 2566 จาก: https:// www.nursing62.blogspot.com

แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่1.(2566). กรุงเทพฯ : กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์

พงศ์เทพ ธีระวิทย์. วัฌโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis). สืบค้น 20 พ.ย.. 2566 จาก : https://www.med. Mahidol.ac.th

พิมาภรณ์ อรรคแสง. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ : กรณีศึกษา. วรสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 18(1). 106-121

เพลินตา คำหลาย. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา. วรสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 17(2). 162-173

โรงพยาบาลเพชรเดช. (2565). หนองในเยื่อหุ้มปอด. สืบค้น 20 พ.ย.. 2566 จาก: https:// www.petcharvej hospital.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

แก้วเกิด อ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 472–480. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1930