การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ที่ใหญ่ได้รับยาเคมีบำบัด : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จีระภา อุดมคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, มะเร็งลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฎิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย ตั้งแต่ระยะ ก่อน ขณะ และหลังให้ยาเคมีบำบัด โดยรวบรวมข้อมูลใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหา ปัญหาผู้ป่วย และกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อใช้ในการวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล สรุป และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ซึ่งภายหลังได้รับยาเคมีบำบัดผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยรังสีรักษาและเคมีบำบัดหญิง โรงพยาบาลขอนแก่น ผู้ป่วยรายที่ 1 หลังได้รับยาเคมีบาบัดมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นคือมี ภาวะ Hand Foot Syndrome gr.3 ,ชาปลายมือปลายเท้า, เกิด Lt 5th digit gangreen ได้รับการผ่าตัด Lt 5th Toe amputation และผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะ Hand Foot Syndrome gr.1 , มีภาวะ Hypersensitivity ขณะได้รับยาเคมีบำบัด โดยผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการประเมินภาวะแทรกซ้อนได้อย่างรวดเร็ว และมีการเตรียมความพร้อมทั้งก่อน ขณะ และหลังให้ยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

Provincial Health Services Authority. BC cancer. Symptom management guidelines:chemotherapy-induced peripheral neuropathy (CIPN) [Internet]. 2018 [cited 2023 Jun 27].Available from: http://www.bccancer.bc.ca/nursing- site/Documents/15.%20Peripheral%20Neuropathy.pd

msamaran W, Pattatang A, Suppaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K,Wongsena M, et al. Cancer incidence in Thailand. Cancer Thai 2013-2015 [online]. 2018 [cited 2023 April 1]. Available from:http://www.nci.go.th/th/File_download/

Nci%20Cancer%20Registry/In%20 Cancer% 20in%20Thailand% 20IX%20OK. pdf

Cancer. Switzerland : World Health Organization [Internet]. [cited 2023 May 20]. Avaible from : https://www.who.int/news-room/fact-sheet/detail/cancer

โรงพยาบาลขอนแก่น. (256ุ6).รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.

Brouwer NPM, Bos ACRK, Lemmens VEPP, Tanis PJ, Hugen N, Nagtegaal ID, et al. An overview of 25 years of incidence, treatment and outcome of colorectal cancer patients. Int J Cancer 2018;143(11):2758–66.

สาริณีย์ จินดาวุฒิพันธ์, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ และมณฑิรา จารุเพ็ง. การเสริมสร้างความสุขของ ผู้ป่วยมะเร็งโดยรูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบบูรณาการ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 25 (1) : (2562). 103-117.

สุพิพัฒน์ พระยาลอ, มะลิ พิมพิลา และ เยาวเรศ คำมะนาด. การพัฒนาระบบบริการแบบ Fast Track สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ในหอผู้ป่วยพิเศษสิรินธร โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 32 (2) : (2557). 70 -77

สำกงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ. แนวโน้มคนไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ 2.4 เท่า. [Internet]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ7 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th /Content/ 53098-Thaihealth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

อุดมคำ จ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ที่ใหญ่ได้รับยาเคมีบำบัด : กรณีศึกษา 2 ราย . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 481–490. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1931