การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้าน: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมอง, ระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน มีการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Ischemic Stroke) ชนิดตีบ มีโรคร่วม และเป็นผู้สูงอายุ ผู้มีความแตกต่างกันทางเพศ ป่วยรายที่ 1 ชายไทยอายุ 66 ปี ผู้ป่วยรายที่ 2 หญิงไทยอายุ 75 ปี ผู้ป่วยทั้ง2 รายนี้มีพยาธิสภาพที่สมอง เมือผ่าพ้นภาวะวิกฤติ ผู้ป่วยมีปัญหา แขนขาซีกขวาอ่อนแรง การสื่อสารและการกลืน ตลอดการรับรู้มีการร่วมวางแผนจำหน่ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ขณะอยู่ในโรงพยาบาล การดูแลได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และวางแผนกับครอบครัว เครือข่ายและชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ชุมชน
References
นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สําหรับพยาบาลทั่วไป.สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559
สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. [อินเตอร์เน็ต] 2560. สืบคืนเมื่อวันที่15 มิถุนายน2563 สืบค้นจากwww.thaistroke society.org/2560
โรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานสถิติประจําปี2566.งานเวชระเบียน โรงพยาบาลขอนแก่น ; 2566 เสาวลักษณ์ กองนิล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย; 2557.
บรรณฑวรรณ หรัญเคราะห์ สุพัตรา อังศุโรจน์กุล สิทธิ อติรัตนา พรพชร กิตติเพ็ ญกุล, ลัดดา ลาภศิริอนันตกุล. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับญาติที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: The sun group; 2554.
กุสุมา สุวรรณบูรณ์. การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.2561; 14(3): 3-15.
นิพาพร ภิญโญศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลั น. (วิ ทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2551. 117 หน้า.
รัตนพร สายตรี ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สมเกียรติยศ วรเดช. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(2): 1-13.
เครือวัลย์ เปี่ยมบริบูรณ์ และจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ. พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2552; 21(1): 4-21.
ทีมสุขภาพโรคหลอดเลือดสมอง. (2562) คู่มือระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครือข่ายจังหวัดขอนแก่น . พิมพ์ ครั้งที่ 1:ขอนแก่น :หจก คลังนานาวิทยา ; 2562.
สลิลทิพย์คุณาดิศร (2019 ) การศึกษาคุณสมบัติของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าสู่ระบบบริการ Stroke Fast Track แต่ไม่เข้าเกณฑ์การรับยาละลายลิ่มเลือด ณ โรงพยาบาลขอนแก่น . Journal Thai Soc Volume 18 (2):15 -28.
สมจิตหนุเจริญกุล.(2552). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองปัจจุบัน(Cerebrovascular Accident หรือStroke).ใน : สมจิตหนุเจริญกุล, บรรณาธิการ. การพยาบาลทางอายุรศาตร์ เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร:วี.เจ.พริ้นติ้ง. หน้า 39-65
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2550). แนวทางการการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส าหรับพยาบาลทั่วไป.กรุงเทพ
สมศักดิ์เทียมเก่า.(2562). แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองส าหรับทีมสุขภาพ เขตบริการสุขภาพที่ 7 . พิมพ์ครั้งที่ 1 :ขอนแก่น :หจก คลังนานาวิทยา. หน้า 3-16
roke STS, Roup STG. (1995). Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. The National. Institute of Neurological Disorders and Stroke rtPA Stroke Study Group. N Engl J Med. 333: 1581-7.