การเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • พัฒนรี รอดกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, ผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรังและการเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่าง เดือน ตุลาคม 2565 ถึงเดือน กันยายน 2566 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง จำนวน 71 ราย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ของ Barthel Activities of Daily Living : BADL วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และDependent t – test

     ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง พบว่า ด้านที่ผู้ป่วยยังมีปัญหาอยู่ได้แก่ Transfer (ลุกนั่งจากที่นอน หรือจากเตียงไปยังเก้าอี้) Toilet use (ใช้ห้องน้ำ) และ Mobility (การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน) ความเข้าใจของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความเข้าของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มากกว่าก่อนการดำเนินการ

References

World Stroke Organization. (2019). Annual reports 2019. Retrieved April 14, 2022 from http://www.world-stroke.org/about-wso/annual-reports. (in Thai)

กัลยา ปวงจันทร์.(2563). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลแพร่ Journal of the Phrae Hospital Volume 28 No.2 July–December 2020

กรมการแพทย์. สถาบันประสาทวิทยา.(2558). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2558.

ยงชัย นิละนนท์. 2553.อัมพฤกษ์อัมพาตโรคเรื้อรังที่ต้องดูแล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. จาก www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/epl/articledetail.asp?id=707

Best, J.W. (1981). Research in Education.New Jersey : Prentice - Hall.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(2554). คู่มือการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับญาติที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ THE SUN GROUP.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2563). คู่มือแนวทางปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสูงอายุระยะกลาง (Guideline for Intermediate Care in the elderly) ในโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะกลาง Intermediate Care ในผู้ป่วยสูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด

ปราณี เกษรสันติ์.(2558). ศึกษารูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 25(1) : มกราคม-เมษายน 2558

วาสนา มูลฐี, สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, และ สิริรัตน์ ลีลาจรัส. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจของผู้ป่วย. วารสารสภาการพยาบาล 31: 95-98. 2559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

รอดกุล พ. (2023). การเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 498–504. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1933