การพยาบาลระยะกลางของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองรุนแรง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิตยา ศรีสุทธิกมล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, บาดเจ็บที่สมองรุนแรง, แนวคิดการดูแลระยะกลาง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค การรักษาพยาบาล และผลของการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรง โดยศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองระดับรุนแรง 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในหอผู้ป่วย ศัลยกรรมอุบัติเหตุ  โรงพยาบาลขอนแก่น  เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน แบบประเมินปัญหาและความต้องการการพยาบาลโดยใช้กรอบแนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ตอน  ใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการพยาบาล

     ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุการบาดเจ็บสมองมาจากอุบัติเหตุจราจรปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุ คือการดื่มสุราและขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย  ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อลดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะ หลังผ่าตัดมีภาวะติดเชื้อปอดอักเสบเนื่องจากใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน และได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมจนอาการดีขึ้น ได้รับการดูแลระยะกลางและการวางแผนจำหน่ายโดยสหสาขาวิชาชีพ ส่งกลับไปฟื้นฟูสภาพต่อที่โรงพยาบาลชุมชน รวมวันอยู่รักษาเท่ากับ 11 วัน และ 17 วันตามลำดับ เมื่อประเมินผลลัพธ์ก่อนจำหน่ายตาม Glasgow outcome scale (GOS)  พบว่าผู้ป่วยรายแรก มีพิการหลงเหลือระดับปานกลาง ( moderate recovery) ส่วนอีกรายอยู่ในระดับ พิการหลงเหลือระดับรุนแรง (severe disability)

References

นครชัย เผื่อนปฐม, ธีรเดช ศรีกิจวีไลกุล. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinical practice guidelines for traumatic brain injury). กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2562.

Countries with The Most Car Accidents [Internet]. 2023. Available from: https://www.worldatlas.com/articles/the-countries-with-the-most-car-accidents.html.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ThaiRSC. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนน 2564-2565[cited 1Nov2023]. Available from: http://www.thairsc.com/.

อัญชลี โสภณ, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ไพรวัลย์ พรมที, สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์, อรไท โพธิ์ไชยแสน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณี. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2561; 29(3), 126-138.

เวชระเบียนโรงพยาบาลขอนแก่น.สถิติผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ ปีพ.ศ.2563-2565. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น;2566

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรส านักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์ สถานการณ์บัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เนท].กรุงเทพฯ: 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1พ.ย.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.otp.go.th/ uploads/ tiny_uploads/PDF/2563-06/25630601-RoadAccidentAna2565_Final.pdf

ไสว นรสาร. การพยาบาลผู้บาดเจ็บ: Trauma Nursing. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: ไอเดียอินสแตนพริ้นทิ่ง;2564

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan). สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด ; 2562

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี: ริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด ; 2562

นงณภัทร รุ่งเนย. การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ วิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ;2560

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. โครงการวิจัยเรื่อง การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566]; แหล่งข้อมูล: URL: https://hrdo.org/wp-content/uploads/2019/10/รายงานฉบับสมบูรณ์-การประเมินระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง.pdf ;2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ศรีสุทธิกมล น. (2023). การพยาบาลระยะกลางของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองรุนแรง: กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 505–512. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1935