อัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ในผู้ป่วยกระดูกหักแบบเปิดที่ได้รับการผ่าตัดแบบยึดตรึงกระดูกภายใน
คำสำคัญ:
ออร์โธปิดิกส์, กระดูกหักแบบเปิด, การผ่าตัดแบบยึดตรึงกระดูกภายในบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ในผู้ป่วยกระดูกหักแบบเปิด เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Analytical Study) โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study) ระหว่าง พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหักแบบเปิด และเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 253 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน ประกอบด้วย เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ กลไกการบาดเจ็บ ตำแหน่งบาดเจ็บ ระดับความรุนแรง ระยะเวลารอผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัด ระยะเวลานอนโรงพยาบาล การได้รับยาปฏิชีวนะ และ การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple logistic regression Adjusted odds ratio ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า อัตราอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ 19 คน ร้อยละ 7.59 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ในผู้ป่วยกระดูกหักแบบเปิด คือ ปัจจัยระดับความรุนแรงตาม Gustison และ Anderson ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ในผู้ป่วยกระดูกหักแบบเปิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR adj = 3.66, 95 % CI =1.20 – 11.19, P-value <0.05) ซึ่งแปลผลได้ว่า ผู้ป่วยกระดูกหักแบบเปิดที่ได้รับการผ่าตัดแบบยึดตรึงกระดูกภายในที่มีระดับความรุนแรงตาม Gustison และ Anderson ระดับ 3 มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ เป็น 3.66 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ ระดับความรุนแรงตาม Gustison และ Anderson ระดับ 1 และ 2
References
ธีรชัย อภิวรรธกกุล (บรรณาธิการ). (2558). เคล็ดลับทางออร์โธปิดิกส์. ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรงค์พร พงศ์ภิญโญภาพ. (2564). การศึกษาย้อนหลังเชิงติดตามผลการผ่าตัดที่ล่าช้าในผู้ป่วยกระดูกหักแบบบาดแผลเปิดในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และอัตราการติดเชื้อแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์. วารสารแพทย์ เขต 4-5. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/255542
Court-Brown, C. M., Bugler, K. E., Clement, N. D., Duckworth, A. D., & McQueen, M. M. (2012). The epidemiology of open fractures in adults. A 15-year review. Injury, 43(6), 891-897.
Gustilo RB, Corpuz V, Sherman RK. Epidemiology, Mortality, and Morbidity in Multiple Trauma Patients. Orthopedics. 1985;8(12):1523-8.
Kortram, K., Bezstarosti, H., Metsemakers, W. J., Raschke, M. J., Van Lieshout, E. M. M., & Verhofstad, M. H. J. (2017). Risk factors for infectious complications after open fractures; a systematic review and meta-analysis. International orthopedics, 41(10), 1965–1982. https://doi.org/10.1007/s00264-017-3556-5
Kulthanan T, Songcharoen P. (2008). Orthopedic texts 1. Bangkok: Media Press Limited Partnership (in Thai)
Meesters, D. M., Wijnands, K. A., Brink, P. R., & Poeze, M. (2018). Malnutrition and fracture healing: are specific deficiencies in amino acids important in nonunion development?. Nutrients, 10(11), 1597.
Rti. ddc. moph.go.th. (2019). Bureau of Non-Communicable Disease [NCD] All rights reserved.. [online] Available at: http://rti.ddc.moph.go.th/ RTDDI/Modules/Report/Report11.aspx [Accessed 6 Jun. 2019].
Salminen S. (2005). Femoral shaft fracture in adult: Epidemiology, fracture patients, nonunions, and fatigue fracture: A clinical study. Helsinki: The faculty of medicine of the University of Helsinki
Tornetta III, P., Della Rocca, G. J., Morshed, S., Jones, C., Heels-Ansdell, D., Sprague, S., ... & Bhandari, M. (2020). Risk factors associated with infection in open fractures of the upper and lower extremities. JAAOS Global Research & Reviews, 4(12).
Wilairat W. (2016). Fractures of the frontal tibia. http://ortho.md.chula.ac.th/student/SHEET/shin-va.pdf