การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ภาวะะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง, การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา เพื่อศึกษาลักษณะของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง อาการทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อน การรักษาและการพยาบาล ผลลัพธ์การรักษา ผลลัพธ์ด้านทารก และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล การศึกษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอด ระยะจำหน่าย การวางแผนการจำหน่ายตามหลัก D-METHOD
ผลการศึกษาพบว่า: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยนำมาปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล โดยสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยที่มาเองและผู้ป่วยที่ส่งต่อรักษาจากโรงพยาบาลชุมชน และได้จัดการปัญหาเพื่อป้องกันการชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง การจัดการปัญหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง การตกเลือดหลังคลอดและภาวะ Hypovolemic shock จากสหสาขาวิชาชีพ จนกระทั่งปลอดภัยและจำหน่ายกลับบ้านทั้งมารดาและทารก
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2566. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566, จาก http://dashbord.anamal.moph.go.th
ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. (2565).การพยาบาลสตรีที่มีคสามดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี.การพยาบาลและการผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะเสี่ยงสูงและภาวะแทรกซ้อน (หน้า 89-124). คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ : บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด.
ยิ่งขวัญ อยู่รัตน์. (2566). ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง. ใน พิมล วงศ์ศิริเดช และคณะ (บรรณาธิการ). พัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมทักษะใหม่เพื่ออนาคตการดูแลปริกำเนิด (หน้าที่ 23-32). สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด.
Cunningham, F.G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Dashe, J.S., Hoffman, B. L., Casey, B. M. Spong, C.Y. (2018). William obstetrics (25thed.). New York: The McGraw Hill.