การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (SEPSIS) โรงพยาบาลสมเด็จ
คำสำคัญ:
ติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการดูแลตามมาตรฐาน CPG Sepsis, ศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลตามมาตรฐาน CPG Sepsis และศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด(Sepsis) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) จำนวน 128 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จช่วงเวลา เดือนตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 ซึ่งการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โดยการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย Sepsis ตามแนวทางการดูแลของ CPG Sepsis ร่วมกับโรงพยาบาลกาฬสินธุ์อย่างต่อเนื่อง
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.78 เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 60.15 และมีโรคประจำตัวหลายอย่าง การวินิจฉัยส่วนมากเป็น Sepsis ร้อยละ 60.15 โรคประจำตัว ส่วนมากเป็น Pneumonia ร้อยละ 32.03 และโรคร่วมกับการเสียชีวิตส่วนมากเป็น Pneumonia ร้อยละ 57.14 ผลลัพธ์การดำเนินงาน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภายใน 1 ชั่วโมงร้อยละ 94.87 , อัตราการปฏิบัติตาม CPG ร้อยละ 97.52, อัตราการเจาะ H/C ก่อนให้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 96.29, การให้ยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัยร้อยละ 96.29, การให้สารน้ำ 30 ml/kg/hr ร้อยละ100, ส่วนอัตราตายผู้ป่วย Sepsis ร้อยละ 5.19
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานทางสถิติ อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566. จากเว็ปไซต์ :https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/
ข้อมูลหน่วยงานเวชระเบียนและสถิติ. (2566). จํานวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อกระแสเลือด โรงพยาบาลสมเด็จ.งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์.
จริยา พันธ์วิทยากูล และจิราพร มณีพราย (2561) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต.วารสารกองการพยาบาล, 45(1), 86-104.
เนตรญา วิโรจวานิช. (2561). ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 12(1), 84-94.
ดวงขวัญ คงเรือง. (2563). ผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อายุ ≥15 ปี ที่เข้ารับบริการ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโคกโพธิ์.
ภัทรศร นพฤทธิ์ และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 221-231.
สมาคมเวชบําบัดวิกฤต. (2558). การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.
สมพร รอดจินดา. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน.
สมพร รอดจินดา. (2562). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563 ; 31(1) : 212-231.
ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และ สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. (2560). ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต The effectiveness of Nursing Care Model for Sepsis Patient. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36(1) : 224-231.
อังคณา เกียรติมานะโรจน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 5(9) : 27-43.