การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ภาวะตกเลือดหลังคลอด, การพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยศึกษาเปรียบเทียบผู้คลอด 2 ราย กรณีศึกษาที่ 1 มารดาหญิงไทย อายุ 32 ปี มาโรงพยาบาลวันที่ 22 ก.พ. 2566 ด้วยอาการสำคัญ คือ เจ็บครรภ์คลอด เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง การณีศึกษาที่ 2 มารดาหญิงไทย อายุ 26 ปี มาโรงพยาบาลวันที่ 25 มิ.ย. 2566 เวลา 18.00 น.อาการสำคัญ มีน้ำเดิน เจ็บครรภ์คลอดก่อนมารพ. 1 ชั่วโมง 30 นาที
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 วันที่ 25 ก.พ. 2566 มารดาหลังคลอดรู้สึกตัวดีอ่อนเพลียไม่เวียนศีรษะ สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทารกครบเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะตัวเหลือง ค่าตัวเหลืองเท่ากับ 10.4 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์ ความเข็มข้นของเลือดทารกเท่ากับ 58 เปอร์เซ็นต์ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านพร้อมบุตร นัดมารดาตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ ส่งต่อข้อมูลคลินิกเพื่อเข้ารับการบำบัดยาเสพติด แนะนำการปฎิบัติตัวหลังคลอดและแนะนำให้ลูกดูดนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน การณีศึกษาที่ 2 วันที่ 28 มิ.ย. 2566 มารดาหลังคลอดรู้สึกตัวดีอ่อนเพลียไม่เวียนศีรษะ สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดูแลทำความสะอาดแผลทำหมัน แผลไม่มี Discharge ซึม Pain score 5 มารดาบอกปวดพอทน ไม่ขอยาแก้ปวด ทารกครบเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะตัวเหลือง ค่าตัวเหลืองเท่ากับ 11.1 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์ ความเข็มข้นของเลือดทารกเท่ากับ 51 เปอร์เซ็นต์ แพทย์มีแผนการรักษาอนุญาตให้กลับบ้านพร้อมบุตร นัดตัดไหมแผลทำหมัน 7 วัน นัดมารดาตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ แนะนำการปฎิบัติตัวหลังคลอดและแนะนำให้ลูกดูดนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
References
ข้อมูลการตายมารดาปี 2565 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สืบค้นจาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/index?year=2022
World Health Organization. WHO recommendations for the preven-tion and treatment of postpartumhaemorrhage. Italy: WHO; 2012
งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลพระยืน. (2565). สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระยืน ประจำปี 2563 -2565. โรงพยาบาลพระยืน
สินี แจ่มกระจ่าง (2565) . กรณีศึกษา: การพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอดที่ใช้สารเสพติด. Singburi Hospital Journal ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 กันยายน - ธันวาคม 2565
พิรุฬห์ สิทธิพล (2563) .การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด : กรณีศึกษาวารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม .ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 : เมษายน - กันยายน 2563
สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ,วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ,ศศิกานต์ กาละ (2562) การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ เล่ม 2 . คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุภาวดี แถวเพีย.(2550).“การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน” ในศรีเกียรติ์ อนันต์ สวัสดิ์.บรรณาธิการ.การพยาบาลสูติศาสตร์เล่ม3.พิมพ์ครั้งที่7.นนทบุรี:บริษัทยุทธรินทร์การพิมพ์จำกัด
นงณภัทร รุ่งเนย. (2560). การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.
สุภาพ ไทยแท้. (2556). การพยาบาลสูติศาสตร์: ภาวะผิดปกติในระยะคลอด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
วิภาวรรณ รัตนพิทักษ์ (2561) การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือด วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่19 ฉบับที่ 36