ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคลากรสาธารณสุขที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • สุธีรา ศรีกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลละแม
  • ณิชากร เพิ่มพรสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลละแม
  • วิษณุ อนิลบล นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลละแม
  • มนต์ทิพา เทพเทียมทัศน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละแม

คำสำคัญ:

เมตาบอลิกซินโดรม, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, แบบแผนการดำเนินชีวิต

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์คือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคลากรสาธารณสุขที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 35 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินแบบแผนการดำเนินชีวิตด้านสุขภาพ
     ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรสาธารณสุขที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมร้อยละ 85.72 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ ด้านการเข้าใจข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ มีแบบแผนการดำเนินชีวิตด้านการออกกาลังกายอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงสูงร้อยละ 51.43 และด้านการบริโภคอยู่ในระดับมีความเสี่ยงต่าร้อยละ 34.29 นอกจากนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับแบบแผนการดำเนินชีวิตทั้งด้านการบริโภค การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาและการป้องกันโรค และสุขภาพโดยรวม ยกเว้นด้านการจัดการความเครียดที่มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (r=0.396) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.018) ซึ่งสรุปได้ว่าบุคลากรสาธารณสุขควรปรับแบบแผนการดำเนินชีวิตด้านสุขภาพไม่ให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

References

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การ ปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี.2560; 44(3): 183 – 197.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.สรุปผลสำหรับผู้บริหาร สำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ.2564. https://www.trc.or.th/th/attachments/article/618/สถิติ%/202564.pdf.192 หน้า

ละอองดาว คำชาตา, เพ็ญศิริ ดำรงภคภากร และ อัมพรพรรณ ธีรานุตร. โรคอ้วนลงพุง: สัญญาณอันตรายที่ต้องจัดการ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561;33(4): 386-395.

Grundy SM,Brewer JB, Cleeman JI, et al. Definition of metabolic syndrome: report of the National Heart, Lung and Blood Institute/ American Heart Association Conference on scientific. Issues related to definition. Circulation, 2014; 109: 433-438.

วราพรรณ วงษ์จันทร์. ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมวัยผู้ใหญ่: การจัดการตนเอง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(ฉบับพิเศษ): 16-24.

กิตติคุณ ยั่งยืน. (2559). ภาวะอ้วนลงพุง ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม. R&D Newsletter, 23(2), [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://www.gpo.or.th/Portals/6/Newsletter/

ชนม์ชนก บุญสุข, จอม สุวรรณโณ. ความชุกของกลุ่มอาการเมแทบอลิก และชนิดปัจจัยเมแทบอลิกในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่อ้วน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก.2562; 30(2): 94 -110.

วิชัย เอกพลาการ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2562 – 2563. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์อักษากราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: 2564.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560 – 2564. 2560; 190 หน้า.

World Health Organization. Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7 th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya; Author. 2009.

รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสาหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งใน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเวช ปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2560.

กองสุขศึกษา. แนวทางการดำเนินงานสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ปีงบประมาณ 2566. 2565. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.cmpo.moph.go.th/cmpo/

กองสุขศึกษา. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพประชาชนวัยทำงาน (อายุ 15 - 59 ปี) ปีงบประมาณ 2559. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 10 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.hed.go.th/news/3857.file:///C:/Users/Admin/Downloads/100320161639408186_news.pdf

พิทยา ไพบูลย์ศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561; 8(1): 97 – 107.

วิมล โรมา และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จากhttp://164.115.27.97/digital/files/original/a6e73814efb58a07991c5be54b1498d1.pdf.

รถนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริและ กมลพร แพทย์ชีพ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด – 19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด – 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2564; 8(1): 250 – 262.

Heinrich Heine Univessitat. G*Power Statistical Power Analyses for Mac and Windows. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://www.psychologie.hhu.de/arbeitsgruppen/allgemeine-psychologie-und- arbeitspsychologie/gpower

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ,วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์.การคำนวณขนาดตัวอย่าง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER.วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://so04.tci.thaijo.org.

International Diabetes Federation. The IDF consensus worldwide definition of themetabolic syndrome. 2005.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก www.idf.org/e- library/ consensus-statements/60-idfconsensus-worldwide-definitionof-the-metabolic- syndrome.

มนต์ทิพา เทพเทียมทัศน์. แบบแผนการดำเนินชีวิตตามความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชากรวัยทำงานที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2566; 6(1): 145 – 159.

Likert, Rensis. The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement.196;90-95.New York: Wiley & Son.

ณิชารีย์ ใจคำวัง. พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2558; 3(2): 157-165.

มยุรี หอมสนิท. รู้ได้อย่างไรว่า..อ้วนลงพุง. [อินเตอร์เน็ต].2559. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566].เข้าถึงจาก: http://www.thaihealth.or.th/.World health Organization. Noncommunicable diseases. [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs355/en/.

ไพบูรณ์ จัดกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะเมตาบิลิกซินโดรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564; 36(3): 273-280.

ปฏิพันธ์ เสริมศักดิ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของพนักงานโรงงาน ที่เข้ากะในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558; 25(2): 157 - 165.

มยุรี หอมสนิท. รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง. [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566] เข้าถึงจาก: http://www.thaihealth.or.th/.

ศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์และอุบล จันทร์เพชร. พฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงานอายุ 15 – 59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารช่อพะยอม. 2562; 30(1): 1 – 13.

ภมร ดรุณและ ประกันชัย ไกรรัตน์. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.2562; 15(3): 71 – 82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ศรีกาญจน์ ส., เพิ่มพรสกุล ณ., อนิลบล ว., & เทพเทียมทัศน์ ม. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคลากรสาธารณสุขที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 815–823. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1955