ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดครรภ์แรก ในโรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ , มารดาหลังผ่าตัดคลอดครรภ์แรกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group pre-test post-test design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลหนองคาย กลุ่มตัวอย่างมารดาหลังผ่าตัดคลอดครรภ์แรก อายุ 18-35 ปี ที่มาคลอดในหอผู้ป่วยพิเศษสู่ขวัญ และหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย จำนวนทั้งหมด 30 คน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - พฤศจิกายน 2566 คัดเลือกแบบเจาะจงมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ เครื่องมือ คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดครรภ์แรก ประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สอนและสาธิตการอุ้มบุตร นำบุตรเข้าเต้านมดูดนม การดูแลบุตร และแจกแผ่นพับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะในตนเองความเชื่อมั่นและมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ด้วยข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square
ผลการศึกษา พบว่า มารดาหลังผ่าตัดคลอดครรภ์แรกมีคะแนนความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น โดยก่อนเข้าโปรแกรมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.033 (SD = 0.182) หลังเข้าโปรแกรมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.86 (SD = 0.434) มีความมั่นใจในความสามารถการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นโดยก่อนเข้าโปรแกรมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.433 (SD = 0.504) หลังเข้าโปรแกรมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.7 (SD = 0.702) ส่วน และมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นโดยก่อนเข้าโปรแกรมคะแนนพฤติกรรมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.266 (SD = 0.52) หลังเข้าโปรแกรมคะแนนพฤติกรรมเลี้ยงลูกด้วยนมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.666 (SD = 2.564) และการรับรู้สมรรถนะในตนเองเรื่องความเชื่อมั่นและมั่นใจสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (P = .04)
References
การุณ เก่งสกุล. (2562). ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ระบุผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เพิ่มความเสี่ยงจากการคลอด. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2019/08/17586
ภิเศก ลุมพิกานนท์. (2561). หญิงไทยผ่าคลอดสูงอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีนเร่งรณรงค์ลดผ่าคลอดที่ไม่จำเป็น. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2018/02/15385WHO, 2020
พรนภา ตั้งสุขสันต์. (2554). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสตรีตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 25(3), 103-119.
กนกวรรณ โคตรสังข์, ศิริวรรณ แสงอินทร์และอุษา เชื้อหอม. (2558). ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าและการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1), 13-26.
Gibson. CH. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advance Nursing, 16. 354-361.
World Health Organization. (2020). WHO statement on caesarean section rates. Retrieved from https://www.who.int/reproductivehealth/publications/maternal_perinatal_ health/cs-statement/en