การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่ได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อทำการหยุด และระบายเลือดที่ออกในศีรษะในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์: 2 กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, โรคหลอดเลือดสมองแตก, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อทำการหยุด, และระบายเลือดที่ออกในศีรษะบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่ได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วแบบทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อทำการหยุด และระบายเลือดที่ออกในศีรษะ และ เพื่อรายงานการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่ได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อทำการหยุด และระบายเลือดที่ออกในศีรษะ (Nursing care of hemorrhagic stroke patients who received General anesthesia of craniectomy with clot removal ) จำนวน 2 รายตั้งแต่ระยะก่อนให้การระงับความรู้สึก ระยะขณะให้การระงับความรู้สึก และระยะหลังให้การระงับความรู้สึก รวบรวมข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลจากเวชระเบียน โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม และการดูแลแบบประคับประครอง เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วยกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อวางแผนการการปฏิบัติการพยาบาล
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 เพศชาย อายุ 30 ปี มาด้วยอาการแขนขาขวาอ่อนแรง ก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวลดลง ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ การวินิจฉัยโรค Left Basal ganglion hemorrhage ได้รับการผ่าตัด craniectomy with clot removal โดยการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย (General anesthesia) ระยะเวลาในการผ่าตัด 1 ชั่วโมง 40 นาที การสูญเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด (Blood loss) 300 ml มีโรคประจำตัว HTขาดยาและ Gout รักษาไม่ต่อเนื่อง และสูบบุหรี่วันละ 20 มวน นาน 15 ปี หลังผ่าตัดสามารถถอดท่อช่วยหายใจ ฟื้นฟู ประคับประครอง กายภาพบำบัด จนสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ ดูแลต่อเนื่อง ประเมินสภาพผู้ป่วย (Barthel Activity of Daily Living Index หรือ ADL index) = 9/20 คะแนน ต้องได้รับการช่วยเหลือบ้างมีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษารายที่ 2 เพศหญิง อายุ 40 ปี มาด้วยอาการแขนขาขวาอ่อนแรง ก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง มาด้วยอาการแขนขาขวาอ่อนแรง ก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวลดลง ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ การวินิจฉัยโรค Left Basal ganglion hemorrhage ได้รับการผ่าตัด craniectomy with clot removal โดยการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย (General anesthesia) ระยะเวลาในการผ่าตัด 45 นาที การสูญเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด (Blood loss) 50 ml มีโรคประจำตัว HTขาดยา หลังผ่าตัดสามารถถอดท่อช่วยหายใจ แขนขาอ่อนแรงฟื้นฟู กายภาพบำบัด จนสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ ดูแลต่อเนื่อง ประเมินสภาพผู้ป่วย ADL มากกว่า 12 คะแนน สามารถช่วยเหลือตัวเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564) สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564.กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ และคณะ. (2561). บทบาทของพยาบาลในการพัฒนาความสามารถและลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. ฉบับพิเศษ.
เฉง นิลบุหงา. (2561). ระบบประสาทและการทำงาน : Functional Neuroanatomy. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2561). ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง: มิติของ พยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสภาการพยาบาล, 33(2), 15-28.
ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์. ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม จาก https://www.google.com/search.
ธเนศ ชาญด้วยกิจ และศศิธร ศิริกุล. (2561). การฟื้นฟูสภาพด้านการรู้คิด (Cognative function) ดีขึ้น ในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic brain injury) อย่างรุนแรงโดยใช้ sensory stimulation program. เวขศาสตร์แพทย์ทหารบก, 2551;61:93-9.
นครชัย เผื่อนปฐม และธีระเดช ศรีกิจวิไลกุล. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinical practice guidelines for traumatic brain injury). (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : บริษัท พรอส เพอรัสพลัสจำกัด.
บงกช อนุฤทธิ์ประเสริฐ. (2564). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ สำหรับผู้ป่วยนอก. กรุงเทพ ฯ : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
วิจิตรา กุสุมภ์. (2560). ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ ฯ : สหประชาพาณิชย์.
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. (2563, ตุลาคม) สถิติโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานสถิติประจำปี 2563. เอกสารอัดสำเนา.
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. (2564, ตุลาคม) สถิติโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานสถิติประจำปี 2564. เอกสารอัดสำเนา.
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. (2565, ตุลาคม ) สถิติโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานสถิติประจำปี 2565. เอกสารอัดสำเนา.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2562). คู่มือแนวทางการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับ
จังหวัด ฉบับที่ 1. นนทบุรี: ปัญญมิตรการพิมพ์
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). จาก http://www.neuro.or.th
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติ ทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่ : ทริคธิงค์การพิมพ์.
สไว นรสาร. (2563). การพยาบาลผู้บาดเจ็บ : ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เล่ม 2.นนทบุรี : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.