การพยาบาลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาว:กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ลาสอน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้สูงอายุสมองเสื่อม, ระบบการดูแลระยะยาว

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาว โดยคัดเลือกผู้ป่วยแบบจำเพาะเจาะจง 2 ราย เป็นผู้สูงอายุสมองเสื่อมที่ได้รับการดูแลในระบบการดูแลระยะยาวโรงพยาบาลสีชมพู เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบประเมินสุขภาพ การสัมภาษณ์ การสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล ประเมินและสรุปผล

     ผลการศึกษา: ผู้ป่วยรายที่ 1 เพศชาย อายุ 83 ปี ภรรยาเป็นผู้ดูแลหลัก ไม่มีโรคร่วม ไม่มีความพิการทางร่างกาย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้โดยลำพัง มีพฤติกรรมและอารมณ์ไม่เหมาะสม ผู้ป่วยรายที่ 2 เพศหญิง อายุ 90 ปี บุตร สาวเป็นผู้ดูแลหลัก มีโรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกสันหลังพรุนมีความพิการสันหลังงอ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้บางส่วน มีพฤติกรรม และอารมณ์ไม่เหมาะสม ผู้สูงอายุสมองเสื่อมทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาลร่วมกับแนวทาง Demetia Management(A-N) พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ต้องการการดูแลทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ผู้ป่วยรายที่ 2 สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้บางส่วน ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีพฤติกรรมและอารมณ์ไม่เหมาะสมลดลง ปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม ภาระการดูแลลดลง ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิที่ดีและมีความพึงพอใจในระบบการดูแลในระดับมาก

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสารณสุข.คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สุงอายุ กรุงเทพฯ:บริษัทณจันตาครีเอชั่น จำกัด. 2564.

คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์.หลักสูตรการฝึกอบรมทักษะการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ(Self Caring skills for Dementia patients with

behaviorral and psychological problem).กรุงเทพ:ห้างหุ้นส่วยจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์. 2563.

ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ , แสงเดือน กิ่งข่อยกลาง และ นฤบดินทร์ รอดปั้น.การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ สำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว.ขอนแก่น:เพ็ญพรินติ้ง จำกัด. 2565.

มูลนิธิสังคมและสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม.ขอนแก่น:เพ็ญพรินติ้ง จำกัด. 2563.

มูลนิธิสังคมและสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น.คู่มือโปรแกรม Thai-RDAD protocol.ขอนแก่น:เพ็ญพรินติ้ง จำกัด. 2563.

ประวีณา ศรีบุตรดี.การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม การทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุสมองเสื่อมด้วยโปรแกรม Reducing Disability in Alzheimer (RDAD):วรสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2564.

ปิติพร สิริทิพากร.บทความวิชาการ บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแล:วรสารพยาบาล.2557.

ศิราณี ศรีมหาภาคและธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ.สมองเสื่อมกับการดูแลระดับปฐมภูมิ.ขอนแก่น:เพ็ญพรินติ้ง จำกัด. 2565.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.(2564).แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม.กรุงเทพฯ:ธนาเพลส

สุทิศา ปิติญาณ.คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์.โครงการตำราคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2562. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566,จากhttps://hdmall.co.th/ pharmacies-chat/drug-simvastatin

อาทิตยา สุวรรณ์.บทบาพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม Role of Nurses in Caring for Older persons with Dementia กรุงเทพฯ :คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ลาสอน ศ. (2023). การพยาบาลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาว:กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 843–851. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1958