การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกร่วมกับภาวะโรคร่วมในระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วิรัลพัชร ฆารวิพัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองแตก, ระยะฟื้นฟูสภาพ, การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก

บทคัดย่อ

     การศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย โดยเลือกแบบเจาะจงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่าง เดือน กรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2566 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลจากเวชระเบียน จากการซักประวัติผู้ป่วยและญาติ โดยใช้แนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ทฤษฎีการดูแลตัวเองของโอเร็มเพื่อค้นหาปัญหาและวางแผนปฏิบัติการพยาบาลสรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

     ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 74 ปี การวินิจฉัย Hemorrhagic Stroke เข้ารับการรักษาที่ Home Ward ของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ด้วยอาการแขนและขาด้านขวาอ่อนแรง แผนการรักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกาย รับการรักษาต่อเนื่อง กายภาพบำบัด ควบคุมความดันโลหิตสูง ประวัติโรคร่วม ความดันโลหิตสูงขาดการรับประทานยา ติดตามดูแลต่อเนื่อง Glasgow coma  scale (GCS) E4V5M6  มีอาการแขนและขาด้านขวา อ่อนแรง Motor power ด้านซ้าย grade V ด้านขวา grade III พบปัญหาแทรกซ้อน คือ ความดันโลหิตสูง การเคลื่อนไหวบกพร่อง การดูแลตนเองบกพร่อง ข้อติดแข็งเกร็ง และมีปัญหาเศรษฐกิจ หลังรับการรักษาต่อเนื่องอาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย  อายุ 52 ปี การวินิจฉัย left basal ganglia hemorrhage เข้ารับการรักษาที่ Home Ward ของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ด้วยอาการแขนและขาด้านขวาอ่อนแรง หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง Craniectomy with remove clot  ประวัติโรคร่วม ความดันโลหิตสูงรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง หยุดยาเอง แผนการรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกาย ติดตามดูแลรักษาต่อเนื่อง GCS E4V5M6 มีแขนและขาด้านขวาอ่อนแรง Motor power ด้านซ้าย grade V ด้านขวา grade O รับการรักษาด้วยยาและฟื้นฟูสภาพ พบปัญหาการกลืนบกพร่อง ปวดแผลผ่าตัด การเคลื่อนไหวบกพร่องและมีแผลกดทับที่บริเวณสะโพก การดูแลตนเองบกพร่องและพบปัญหาเศรษฐกิจ ภายหลังการรักษาและการฟื้นฟูสภาพอาการโดยรวมของผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ

References

World Stroke Organization. Facts and figures about stroke. (2012). Available from: https://www.world stroke.org/component/content/article/16-forpatients/84-facts-and-figures about-stroke.

American Stroke Association.(2020) Guideline for the early Management of patient With Acute Ischemic Stroke. Retrieved january 10, 2020, from https://www.bmc.org/sites/default/files/Patient_Care/Specialty_Care/Stroke_and_Cerebrovascular_Center/Medical_Professionals/ Protocols

World Health Organization. (2020). World stroke campaign [Internet]. [cited 2020 Jan 21] Available from: http://www.world-stroke.org/advocacy/world-stroke campaign

สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย.(2560).แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพฯ:สถาบันประสาทวิทยา.

สถิติข้อมูล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. งานข้อมูลและสถิติ. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลกาฬสินธุ์; 2563-2565. (คัดสำเนา)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ฆารวิพัฒน์ ว. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกร่วมกับภาวะโรคร่วมในระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 872–882. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1961