การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ในคลินิกโรคเรื้อรัง กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลมัญจาคีรี

ผู้แต่ง

  • วิภาภรณ์ ภักดีลุน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยเบาหวาน, คลินิกโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 2 ราย โดยใช้กระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน ร่วมกับการพยาบาลแบบองค์รวมเป็นแนวทางในการศึกษา โดยผ่านการเยี่ยมบ้าน 4 ครั้ง

     ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย พบปัญหาแบบแผนสุขภาพที่เหมือนกันคือ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ขาดความตระหนักและใส่ใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองยังรับประทานอาหารตามใจชอบ ไม่ได้ออกกำลังกาย มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเมื่อต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนของโรคที่รุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 มีปัจจัยเสริมทางด้านร่างกายและครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ ผู้ป่วยต้องฉีดยาเบาหวานแต่ตามองเห็นไม่ชัด ต้องพึ่งพาญาติซึ่งบริบทของครอบครัวอาชีพค้าขายปัจจัยเสริมนี้เป็นปัญหาที่ต้องหาทางออกร่วมกันในครอบครัว รูปแบบการพยาบาลที่ส่งเสริมความสำเร็จ คือ การพยาบาลแบบองค์และญาติมีส่วนร่วม พร้อมทั้งทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

References

คลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center : HDC [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

เฉลาศรี เสงี่ยม. การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวาน. ใน: ศิริอร สินธุ, พิเชต วงรอต, บรรณาธิการ. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วัฒนาการพิมพ์; 2558: 46-9.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลและระบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. (พิมพ์ครั้งที่ 20). สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2560.

นิภา ทองทับ. กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์ 2558;30(3):191-202.

ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา Handbook of drugs. พิมพ์ครั้งที่14. กรุงเทพฯ: N P Press Limitef Partnership; 2559.

ศูนย์ข้อมูล : Data center โรงพยาบาลมัญจาคีรี. รายงานสถิติประจำปี 2564-2566. ขอนแก่น: โรงพยาบาลมัญจาคีรี; 2566.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18(พิเศษ):17-24.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานตามโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัย ในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 : Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.

อุษณีย์ หลิมกุล. คู่มือการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล. กรงุเทพฯ: ฝ่ายการพยาบาลวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล; 2561.

อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์; 2565.

Thai PBS. พบเบาหวานทั่วโลก 537 ล้านคน ปี 2566 ไทยป่วยเพิ่ม 3 แสนคน [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipbs.or.th/news/content/333847]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31