การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลโคกโพธ์ไชย: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
กระบวนการพยาบาล, เบาหวาน, ไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ ในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
ผลการศึกษาพบว่า รายที่ 1 วินิจฉัยเป็น Diabetes mellitus type 2 with Hypertension with Chronic Kidney Disease stage 3B และรายที่ 2 วินิจฉัยเป็น Diabetes mellitus type 2 with Hypertension with Chronic Kidney Disease stage 3A มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลเหมือนกัน คือ 1) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 2) มีภาวะความดันโลหิตสูง 3)เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจาก การทำงานของไตลดลง 4) ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดขา 2 ข้าง 5) มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการปวดขาและการฉีดยา ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกัน รายที่ 1 1) เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายเนื่องจากการมองเห็นไม่ชัดเจน รายที่ 2 1)มีความวิตกกังวลเรื่องการฉีดยา และปัญหาเศรษฐกิจค่าใช้จ่ายในครอบครัว รายที่ 1 มีข้อวินิจฉัยการพยาบาล 6 ข้อ รายที่ 2 ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 6 ข้อ เวลาที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยมีความแตกต่างกันตามจำนวนปัญหาและสาเหตุ
References
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2560). การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้วารสารพยาบาลทหารบก. 18(พิเศษ). 17-24.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุม(2563). แนวทางการพัฒนาเพื่อมาตรฐานคลินิกเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.
เจริญ เกียรติวัชรชัย และสมถวิล เกียรติวัชรชัย. (2556). การจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 7 (2). 302-324.
ฉวีวรรณ กลิ่นหอม นิรุวรรณ เทิร์นโบล์ และสุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อม โรงพยาบาลโพธิ์ไทรจังหวัดอุบลราชธานี : The development of a caring Model for type-2 Diabetes Mellitus patients with chronic kidney disease at Phosai hospital, Phosai district, UbonRatchathani province. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม.
เฉลาศรี เสงี่ยม. (2558). การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวาน. ใน ศิริอร สินธุ และพิเชต วงรอต (บรรณาธิการ). การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพมหานคร: สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย. 9–46.
นริสา ตัณฑัยย์ พาขวัญ ปุณณุปูรต วุฒิรัต ธรรมวุฒิ ผุสดี ปุจฉาการ นิติ โอสิริสกุล ชัยรัตน์ ฉายากุล. บรรณาธิการ. (2561). ข้อมูลยาประชาชน : ฉลากยาเสริม และข้อมูลความปลอดภัยในการใช้ยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา
นิภา ทองทับ (2558). กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์. 30 (3). 191–202.
บัญชา สถิระพจน์. (2563). Diabetic Nephropathy: Diagnosis and Therapeutic Targets. เวชสารแพทย์ทหารบก.73 (3). 199-210.
ปริศนา รถสีดา. (2561). การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน Fall Prevention among the Elderly Living in a Community: The Nursing Role in Home Health Care. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 11 (2). 15-25
ภทรพรรณ อุณาภาค และขวัญชัย รัตนมณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 10 (2). 44-54.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยฯ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560: Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.
วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์. แนวทางการประเมินแบบแผนสุขภาพผู้ป่วยในแบบฟอร์ม Nursing Care Plan (รายงานการวางแผนการพยาบาล). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564. (สืบค้นจากhttps://nursing62.blogspotcom/2019/09/11.html)
ศิริรัตน์ ถุงทอง ทิพมาส ชินวงศ์ และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2558). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 35 (1). 67-84.
คลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. (2562). Health Data Center: HDC. กระทรวงสาธารณสุข.
เจริญ เกียรติวัชรชัย และสมถวิล เกียรติวัชรชัย. (2556). การจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 7 (2). 302-32
สุชาดา ชุติมาวรพันธ์ โพยม วงศ์ภูวรักษ์อภิฤดี เหมะจุฑาฐิติมา ด้วงเงินกิติยศ ยศสมบัติบรรณาธิการ. (2562). คู่มือทักษะตามเกณฑ์ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (สมรรถนะร่วม) พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บริษัท เอช อาร์ พริ้นซ์ แอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด.