การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ระบบคัดแยก 5 ระดับ (MOPH ED.Triage) หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การคัดแยกผู้ป่วย, MOPD.ED triage, หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การคัดแยกผู้ป่วย หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช 2) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ใช้กรอบแนวคิดทฤษฏีระบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพ ที่ขึ้นปฏิบัติงานที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 16 คน 2) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 4,800 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ก่อนการพัฒนา หลังการพัฒนาวงล้อที่1และวงล้อที่2 ศึกษาระหว่างเดือนเมษายน 2563 ถึง กันยายน 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบ ด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ แบบบันทึกการคัดแยก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive statistics) ข้อมูลคุณลักษณะทางประชากร (การแจกแจงความถี่เป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด) ข้อมูลความรู้และผลการคัดแยก แปลผล โดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการวิจัย 1) ก่อนการพัฒนา ไม่มีแนวปฏิบัติ ที่ชัดเจน คัดแยกโดยใช้ KESI triage คุณสมบัติผู้คัดแยกและสถานที่คัดแยกไม่ระบุ บันทึกข้อมูลในเวชระเบียนและโปรแกรม 43 แฟ้ม 2) พัฒนารูปแบบการคัดแยก โดยใช้ MOPH.ED.Triage ESI 5 ระดับ ของกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข จุดคัดแยกอยู่หน้าห้องฉุกเฉิน พยาบาลคัดแยกเป็นพยาบาลวิชาชีพประสบการณ์มากกว่า 3 ปี บันทึกข้อมูลการคัดแยกในเวชระเบียนและในโปรแกรม 43 แฟ้ม 3) ผลการวิจัย ค่าคะแนนความรู้ของพยาบาลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหลังการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ค่าคะแนนเฉลี่ย 13.19 ,18.56 ตามลำดับ ) ผลการคัดแยกสูงกว่าความเป็นจริง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ร้อยละ 15.19 ,10.81, 8.38 ตามลำดับ )การคัดแยกต่ำกว่าความเป็นจริง เปรียบเทียบ ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนาวงล้อที่1 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 (ร้อยละ7.62 เป็นร้อยละ4.44 ) และ หลังการพัฒนาวงล้อที่1และหลังการพัฒนาวงล้อที่2 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.02 (ร้อยละ4.44 เป็นร้อยละ 3.44)
References
พรทิพย์ วชิรดิลก ธีระ ศิริสมุด สินีนุช ชัยสิทธิ์ อนุชา เศรษฐเสถียร. การคัดแยกของผแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทยVol.31 No.2(2559): เมษายน-มิถุนายน 2559
ภาสินี คงเพ็ชร์. ผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2557;28(4):929-41.(2557).
รังสฤษฎ์ รังสรรค์. การคัดกรองผู้ป่วยด้วยระบบ Emergency Severity Index (ESI) [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://ergoldbook.blogspot.com/2012/10/emergency-severity- index-esi.html
สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2561.
สุคนธ์จิต อุปนันชัย และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. ผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยและการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลกลาง ปีที่13 ฉบับบที่2(2017):กรกฎาคม-ธันวาคม2560 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2552).พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551(พิมพ์ครั้งที่2).นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับบริบาล ณ. ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด (ฉบับที่1). กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 2556.
สุปิยา ชัยพิสุทธิ์สกุล, วลีรัตน์ ปุเลทะตัง. การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพโรงพยาบาลนาเชือก [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nachuakhospital.com/forum/index.php?topic=10.0
อุทุมพร จามรมาร.แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ(2541,มีนาคม) .โมเดลคืออะไร.วารสารวิชาการ,1(2),22-26