การเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อ Legionella spp. ในแหล่งน้ำที่ใช้ในโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ผู้แต่ง

  • อิริยะพร กองทัพ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11
  • อาภากร นบนอบ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11
  • วัชรี ทองขาว นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11

คำสำคัญ:

Legionella spp, การเพาะเชื้อ, CDC 2005, Latex agglutination

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อ Legionella spp. ในแหล่งน้ำที่ใช้ในโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ในปีงบประมาณ 2566 โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำและ swab จากโรงแรม จำนวน 15 แห่ง ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2566 และนำตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์โดยใช้วิธีเพาะเชื้อซึ่งอ้างอิงตามวิธีของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ปี 2005 ผลการตรวจพบเชื้อ Legionella spp. จำนวน 2 แห่ง จากโรงแรมที่ตรวจ โดยมีอัตราการปนเปื้อนเชื้อเป็นร้อยละ 13.33 ซึ่งสามารถแสดงถึงความเสี่ยงที่มีต่อการปนเปื้อนเชื้อในระบบน้ำของโรงแรม เมื่อวิเคราะห์ปริมาณเชื้อพบว่ามี 2 แห่ง ที่มีปริมาณเชื้อน้อยกว่า 105 CFU/L ซึ่งอาจแสดงถึงระดับปนเปื้อนที่น้อยแต่ก็ยังเป็นเชื้อที่ต้องตรวจสอบและจัดการ เมื่อตรวจชนิดเชื้อด้วยวิธี Latex agglutination พบเป็นชนิด Legionella pneumophila serogroup 1 และ Legionella pneumophila serogroup 2-14  ทำการแจ้งผลการตรวจให้กับโรงแรม และนำข้อมูลไปลงพื้นที่เพื่อให้ข้อแนะนำการปรับปรุงระบบน้ำของโรงแรม รวมถึงวิธีการทำลายเชื้อให้กับโรงแรมที่พบการปนเปื้อนเชื้อ หลังจากการปรับปรุงระบบน้ำจากโรงแรมทั้ง 2 แห่ง ที่ตรวจพบเชื้อในรอบแรก ได้ทำการเก็บตัวอย่างรอบที่สองและทำการตรวจวิเคราะห์อีกครั้ง ผลการตรวจววิเคราะห์รอบที่สอง ไม่พบเชื้อ Legionella spp. ทั้ง 2

References

ไพรัช ศรีไสว. การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรค legionellosis. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม2542:3:45-9.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคลีเจียนเนลโลสิส (Legionellosis) [อินเทอร์เน็ต].

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562 (สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2565. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=15

สมชัย บวรกิตติ, วันทนา ปวีณกิตติ์พร, สุรางค์ เดชศิริเลิศ. โรคลีจิโอเนลลา. ใน: สมชัย บวรกิตติ,พลรัตน์ วิไลรัตน์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์การท่องเที่ยว ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี, กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร; 2547. หน้า 265-72.

Paveenkittiporn W, Dejsirilert S, Kalambaheti T. Genetic speciation of environmental Legionella isolates in Thailand. Infection, Genetics and Evolution 2012;12:1368-76.

Tishyadhigama P, Dejsirilert S, Srisawai P, Kusum M, Yabuuchi E, Ikedo M, et al.Environmental surveillance of Legionella pneumophila in Thailand. J Med Assoc Thai 1995;78:57-71.

ฆาลิตา วารีวณิช, ภาณุวัฒน์ นราอาจ. การเกิดโรคลีเจียนแนร์ในนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปี 2553-2560. สำนักพิมพ์นครศรีธรรมราช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช; 2565.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกรมอนามัย เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลีจิโอเนลลาในหอผึ่งเย็นของอาคารในประเทศไทย. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2549.

Centers for Disease Control and Prevention. Procedures for the recovery of Legionella from the environment. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention;2005.

มลฑล เลิศคณาวานิชกุล. การตรวจหาเชื้อลีจิโอเนลลาในสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม 2546; 26: 75-90.

อธิชา มหาโยธา, กรวิทย์ นาคคนทรง อภิญญา อรรคฮาต อุดมเกียรติ พรรธนประเทศ. การเฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อ Legionella spp. ในแหล่งน้ำที่ใช้ในโรงแรมหรือรีสอร์ท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 23: 201-09.

โรม บัวทอง, รุ่งนภา ประสานทอง, วิวัฒน์ ศีตมโนชน์ เนตรวงศ์, ธาริยา เสาวรัญ, ขจรเดช จันทะยานี, นงนฺช มารินทร์ และคณะ. การระบาดของโรคลีเจียนแนร์ในนักท่องเที่ยวชาวยุโรปภายหลังจากการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ธันวาคม 2549 - มกราคม 2550: บทบาทของการสอบสวนสิ่งแวดล้อมในประเทศที่เกิดเหตุ: รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44: 38-46.

ปริยะดา โชควิญญู, ชไมพร เป็นสุข และวันทนา ปวีณกิตติพร. การคุณภาพอากาศภายในอาคารของโรงพยาบาลและโรงแรมในประเทศไทย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม 2557: 51-66.

นีรภา คงกันคง, นวรัตน์ วราอัศวปติเจริญ, วรัญญ คงกันคง, ดวงพร จิรวิบูลย์, ภทรมน รัตนาพันธุ์ และวิวัฒน์ ลี้ตระกูลนำชัย. การศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในระบบน้ำทางทันตกรรมในคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2543. วารสารทันตกรรมขอนแก่น 2543; 3: 73-79.

ทัศนีย์ สุโกศล. การตรวจและควบคุมเชื้อแบททีเรียที่ก่อโรคลีเจียนแนในระบบปรับอากาศ.นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

กองทัพ อ., นบนอบ อ., & ทองขาว ว. (2023). การเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อ Legionella spp. ในแหล่งน้ำที่ใช้ในโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 969–977. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1969