ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ต่อการชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลกุสุมาลย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติตามเกณฑ์คัด ตั้งแต่เดือน กันยายน 2566 – ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ และ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไต สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางสุขภาพ โดยนำมาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ BMI BP eGFR sCr FBS และคะแนนสัมภาษณ์ ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม โดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมข้อมูลสุขภาพ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI), ความดันโลหิต (blood pressure, BP) อัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate, eGFR) ค่าครีเอตินินในเลือด (serum creatinine, sCr) ระดับน้ำตาลในเลือด (fasting blood sugar, FBS) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม การรับประทานอาหาร และการใช้ยาอย่างเหมาะสม ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม เรื่องการรับประทานอาหารและการใช้อย่างยาเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยก่อนเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ในระดับต่ำ หลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
References
ปรัตถกร วงศ์กาฬสินธุ์ .รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ( วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
ชลาภัทร คำพิมานและคณะ (2560) .ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 1 ถึง 3 ตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม.2560; 4(2):42-49.
กลุ่มนโยบายและวิชาการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสกลนคร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสกลนคร ประจำปี 2563.
โรงพยาบาลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. สถิติข้อมูลผู้มารับบริการ โรงพยาบาลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร; 2563-2565.
บุญชม ศรีสะอาด.การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2560.
ศิริลักษณ์ ถุงทอง . ศึกษาเรื่องผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไต่เสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. Songklanagarind Journal of Nursing .2557;35 (1):67-84.
วัชรพงษ์ วีรกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบบูรณาการต่อการชะลอไตเสื่อม. Journal of Primary Car and Family Medicine . 2565; 5(2):132-144.
ศิริลักษณ์ มหาลีและคณะ . ศึกษาเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์.2559;11(1):99-106.
อุไรวรรณ พานทอง .การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรับในสถานบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครศรีธรรมราช.มหาราชนครศรีธรรมราช เวชสาร. 2561; 1(2):48-58.
สุภาพ สุทธิสันต์ชาญชัย . ประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ของคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 . 2564; 40 (2) :255-267.
สุรัตน์ อนันทสุข .โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญา คหกรรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี;2564.