การเสริมสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การรับรู้ด้านสุขภาพ, โรคไข้เลือดออก, ผู้นำชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการวิจัย มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 64 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และDependent t – test
ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่แนวทางการเสริมสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์ มากกว่าก่อนแนวทาง และ มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก น้อยกว่าค่า median ทั้งโดยรวมและรายหมู่บ้าน
References
วรวิทย์ กันทะมาลี นพพร อภิวัฒนากุล.(2565). ความรู้สำหรับประชาชน โรคไข้เลือดออก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย https://www.pidst.or.th/A713.html
ทวิติยา สุจริตรักษ์.(2566). หมอเตือนหน้าฝน ระวังโรคไข้เลือดออกระบาด เผยตั้งแต่มกราคม-พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2566 พบมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วกว่า 1.6 หมื่นราย https://www.cmu.ac.th/th/article/9f4c558d-af38-4592-bf6f-cfed5ad8b4a9
สำนักโรคติดต่อน าโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2558). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
Chiu-Jung Chang. (2018). Epidemiological, clinical and climatic characteristics of dengue fever in Kaohsiung City, Taiwan with implication for prevention and control. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0190637.
World Health Organization. (2019). Dengue and severe dengue. https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue.
พรทิพย์ แก้วชิณ ชัญญานุช ไพรวงษ์ ธนาคาร เสถียรพูนสุข วิฑูรย์ เจียกงูเหลือม ภาวินี ทิพย์กระโทก เสาวลักษณ์ บุตรศรี สมปอง ทาทอง สิรรินทร์ สีเสนวรธนาสกุล พิลาส สว่างสุนทรเวศย์.(2564).ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น. 2(3). 70-84
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, กนกพรรณ พรหมทอง, มนตรี รักภักดี.(2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย จังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 40(5). 71-84