ผลของการให้คุณค่าและแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ ยาเสพติดของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดหลังครบโปรแกรมฟื้นฟูสภาพทางสังคม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การให้คุณค่า, แรงสนับสนุนทางสังคม, การเสริมพลัง, ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คุณค่าและแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดหลังครบโปรแกรมฟื้นฟูสภาพทางสังคม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 44 คน รวม 88 คน คือ กลุ่มทดลอง ได้แก่ ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดหลังครบโปรแกรมฟื้นฟูสภาพทางสังคม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเปรียบเทียบ ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดหลังครบโปรแกรมฟื้นฟูสภาพทางสังคม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามแนวทางปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติต่อการป้องกันยาเสพติด การให้คุณค่าแก่ตัวเอง แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการป้องกันยาเสพติด การรับรู้ความสามารถของตนในการลด ละ เลิกยาเสพติด ความตั้งใจในการเลิกใช้สารเสพติด และพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
พัทธบันท์ คงทอง อารดา หายักวงษ์ และ ณัฐพล โยธา. (2564). พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ค่ายศูนย์ขวัญจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) ปีที่ 21 ฉบับที่ 2: เมษายน-มิถุนายน 2564, 225-235.
Unies, N. (2000). Office des Nations Unies contre la drogue et le crime. In Travaux préparatoires: des négociations en vue de l’élaboration de la Convention des Nations Unies contre la corruption.
Office of the Narcotics Control Board, the Ministry of Justice. The practical manual for using the information about national drug abusers and drug abuse treatment. 2nd ed. Samut Prakan: Udomsuksa Printing and Publishing. 2017. Thai.
สาลิณี ภู่รุ่งเรืองผล. (2562). พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566, จาก htps:/vww.chiangmaihealth. go.th/cmpho_web/document/19081615 6591830384. pdf.
บุญศีริ จันศิริมงคล. (2558). โปรแกรมบูรณาการการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสุราและยาเสพติดที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัส จำกัด.
สยาภรณ์ เดชดี และ อรวรรณ หนูแก้ว. (2554).การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมยายน 2564, 91-111.
ชัยรัชต์ ก้องเปสลาพันธ์ เพชรา เมธาอนันต์กุล ณัฏฐภัณฑ์สัณฑ์ ศรีวิชัย และนรัญชญา ศรีบูรพา. (2566). ประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดด้วยแนวคิดการยอมรับและพันธสัญญาในด้านความยืดหยุ่นทางใจ การเห็นคุณค่าในตนเองและความผาสุกทางจิตใจในผู้ป่วยสารเสพติด. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย 54(1) (2566) 51-64.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). สรุปผลการดำเนินงานด้านยาเสพติด ปี 2566.
โรงพยาบาลกันทรลักษ์. (2566). สรุปผลการดำเนินงานด้านยาเสพติด ปี 2566.
Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K., & World Health Organization. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Chichester: Wiley.
เทอดศักดิ์ เนียมเปีย และ วุฒิชัย จริยา. (2563). ผลของโปรแกรมสริมสร้างพลังต้านการเสพยาบ้าต่อความตั้งใจเลิกเสพยาบ้าของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563, 700-708.
จันทรา มณีฉาย อัศว์ศิริ ลาปีอี และ สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม. (2565). การเสริมพลังอำนาจชุมชนกับบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรณีศึกษา ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตริทยาสัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุวิทย์ สลามเต๊ะ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีที่ 12 ฉบับพิเศษ เดือนตุลาคม 2561.
จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส นุชนาถ แก้วมาตร ภาคิณี เดชชัยยศ หทัยชนก เผ่าวิริยะ ศรวิษฐ์ บุญประชุม และ สุรชาติ นันตา. (2559). ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการมองโลกทางบวกและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเอมเฟตามีน. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.
อัจฉรา ประการ ฐิรชัย หงส์ยันตรชัย และปวิธ สิริเกียรติกุล. (2562). ผลของกลุ่มบำบัดตามแนวความหมายของชีวิตที่มีต่อความมุ่งหวังในชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติดระยะติดตามผล. วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 31 ตุลาคม-ธันวาคม 2562.
ศุภชัย นวลสุทธิ์ จุฬา ศรีรักษา ทัปปณ สัมปทณรักษ์ และ สมหมาย คชนาม. (2565). ผลของโปรแกรมประยุกต์การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษาของผู้ป่วยยาเสพติดที่ต้องเข้ารับการบำบัดเป็นครั้งแรก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565 หน้า 163-177.