การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเอดส์: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยวัณโรคปอดในโรคเอดส์, 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน, การพยาบาลองค์รวมบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเอดส์ คัดเลือกผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเอดส์ที่มีความสมัครใจแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 2 ราย ระหว่างเดือนกรกฎาคม– เดือนธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย เวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกตติดตามอาการผู้ป่วยขณะให้การดูแล รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 ข้อ มาใช้ในการประเมินและกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาในวันที่ให้การพยาบาล และประเมินผลการพยาบาล โดยนำทฤษฎีทางการพยาบาลของโอเร็มมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย
ผลการศึกษา: กรณีศึกษา 2 ราย เป็นผู้ป่วยรายใหม่ซึ่งเป็นเชื้อฉวยโอกาสจากผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ รายที่ 1 ตรวจเสมหะ(AFB)ผลลบ เอ็กซเรย์ปอดพบโพรง (cavitation) รายที่ 2 ตรวจเสมหะ MTB ผลบวก อยู่ในระยะที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ทั้ง 2 รายได้รับยารักษาวัณโรคปอด สูตร 2IRZE/4IR เหมือนกันมีความตอบสนองต่อยาดีทั้ง 2 ราย ให้ความร่วมมือตามแผนการรักษาของแพทย์เป็นอย่างดี ประเมินปัญหาและความต้องการของกรณีศึกษาตาม 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน พบมีข้อวินิจฉัยการพยาบาลเท่ากัน 8 ข้อเหมือนกัน 7 ข้อ แตกต่างกัน 1 ข้อ พบในระยะรักษาเข้มข้น คือรายที่ 1 มีภาวะไม่สุขสบายจากการปวดแน่นท้อง รายที่ 2 มีภาวะโปแตสเซียมต่ำ
References
นิธิพัฒน์เจียรสกุล.เอดสกับวัณโรค. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/sirirajonline2021/Article_files/348_1.pdf
มนูญ ลีเชวงวงศ์. Challengesin Management of Tuberculosis in HIV-AIDS.2560 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค.2566). เข้าถึงได้จาก http://www.thaiaidssociety.org/data/PDFs/article/Challengeinmanagement of tuberculosisinHIV/AIDS pdf4.
กองวัณโรค. คู่มือประเมินคุณภาพ โรงพยาบาล ด้านการดูแลรักษาวัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2563.
เสถียร เชื้อลี. สาเหตุการเสียชีวิตผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เขต 10. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10 2561;16:16-19.
กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกองวัณโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรค ประเทศไทย.2564. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.tbthailand.org/download/form/
เฉวตสรร นามวาท, สุธาสินี คําหลวง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร, ศศิธันว์ มาแอเคียน, วิธัญญาปิณฑะดิษและคณะ.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ความคุ้มค่า การลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย: การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้. 2560.1-5.
งานเวชระเบียนและสถิติ.สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2564 -2566. โรงพยาบาลบ้านไผ่; 2566.
รัฐการต์ ปาระมี. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลแม่สาย. เชียงรายวารสาร. 2563:12;31-43.
กรมควบคุมโรค.ตีตรา-เลือกปฏิบัติ.2558 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จากhfocus/content/2015/08/10730
พงศ์เทพ ธีระวิทย์.วัณโรคปอด(Pulmonary tuberculosis). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/TB.pdf
ธนิศ เสริมแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จังหวัดภูเก็ตารสารวิชาการสาธารณสุข; 2565, 31(1).