การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • บุษดี ขันมะจันทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยและผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 จำนวน 12 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กระบวนการการพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน, แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันเฉพาะราย, แบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน, แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน Dependent t-test

     ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันระยะที่ 2 มีการปรับลดขั้นตอนและเปลี่ยนระบบการส่งต่อจากโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเป็นโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ซึ่งมีระยะทางและใช้เวลาการเดินทางเร็วกว่า พยาบาลแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินมีคะแนนความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ก่อนและหลังดำเนินการโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = value <.001) ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ทั้งหมดจำนวน 9 ราย ได้รับการประเมิน คัดกรอง และวินิจฉัยจากแพทย์ในช่วงวลาที่ 1-10 นาทีหลังจากรับผู้ป่วยร้อยละ 100 โดยได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วย STMEMI ร้อยละ 66.66 และ NSTEMI ร้อยละ 33.33 และส่งต่อไปโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการทำ Primary PCI ภายใน 120 นาทีนับจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย STEMI (EKG diagnosis) ร้อยละ 100

References

กิตติญาภรณ์ พันวิไล, อรนุช อุทัยกุล, ธมลวรรณ ยอดกลกิจ และวุฒิชัย แสงประกาย. การพัฒนาและผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน (EVAR). วชิรสารการพยาบาล. 2563: 22(2); 58-70.

เยาวเรศ บุญทองใหม่และคณะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระพุทธบาท. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2565:35(2); 50-64.

นิตยา ชนะกอก. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โดยการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ในโรงพยาบาลลําพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2561:11(2); 37- 43.

รัชนี ผิวผ่อง, ธัญสุดา ปลงรัมย์ และวิไลวรรณ เงาศรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์,30(2), 28-38.

เยาวเรศ บุญทองใหม่และคณะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระพุทธบาท. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2565;35(2): 50-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ขันมะจันทร์ บ. (2023). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 1105–1113. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2011