การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพติดซ้ำในผู้ป่วยติดสารเสพติด โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ผู้ติดสารเสพติด, การพัฒนารูปแบบ, การบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด, การป้องกันการกลับมาเสพซ้ำบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำในผู้ติดสารเสพติด และศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำในผู้ติดสารเสพติด โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ทีมสุขภาพ จำนวน 24 คน และทีมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนารูปแบบฯ และผู้ติดสารเสพติดที่มารับบริการในคลินิกบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม จำนวน 60 คน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนางานตามขั้นตอน วงจรปรับปรุงคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA Cycle ในการดำเนินการพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำในผู้ติดสารเสพติด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความตั้งใจในการในการเลิกเสพสารเสพติด แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้เสพสารเสพติด แบบประเมินระดับการเสพสารเสพติด และแบบประเมินความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด ประเมินผลก่อนและหลัง ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือน มีนาคม ถึง ตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ Dependent t-test
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความตั้งใจในการในการเลิกเสพสารเสพติดของผู้ติดสารเสพติดโดยภาพรวม ก่อนพัฒนาอยู่ในระดับสูงมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 62.85, SD. =9.63 หลังพัฒนาอยู่ในระดับสูงมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ =69.75, SD. =4.92 และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า หลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการเสพสารเสพติดของผู้ติดสารเสพติดโดยภาพรวม ก่อนพัฒนาอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 67.65, SD. = 35.21 หลังพัฒนาอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ =90.25, SD. =14.47 และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า หลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ระดับการเสพสารเสพติดของผู้ติดสารเสพติดโดยภาพรวม ก่อนพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 18.6, SD. =2.19 หลังพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ =8.9, SD. = 2.72 และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า หลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยลดลงก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำในผู้ติดสารเสพติด (ผู้ติดสารเสพติด) ผลการศึกษาพบว่าหลังการพัฒนาระบบร้อยละความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำในผู้ติดสารเสพติดโดยภาพรวม ร้อยละ 100 และ 5) ความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำในผู้ติดสารเสพติด (ทีมสุขภาพ) ผลการศึกษาพบว่าหลังการพัฒนาระบบร้อยละความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำในผู้ติดสารเสพติดโดยภาพรวม ร้อยละ 100
References
สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560). รวมกฎหมายยาเสพติด พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 (แก้ไขล่าสุด พ.ศ. 2560) และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
อรทัย ธารแผ้ว. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. Journal of Graduate School SakonNakhon Rajabhat University, 16(72), 33-47.
สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
กระทรวงสาธารณสุข, สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560ก). คู่มือการดําเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. นนทบุรี : ผู้แต่ง.
กระทรวงสาธารณสุข, สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการดําเนินงานยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร, & เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2544). จริยธรรมสำหรับการศึกษาในคน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปิยนุช วิเศษกลิ่น. (2558). การเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราและเพิ่มการทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา. การศึกษาอิสระ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิริพร ญาณจินดา, มานพ คณะโต. (2558). ประสิทธิผลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่ตำบลนาแขม อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2558, หน้า 343-356.