การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลรูทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ขุ่มด้วง

คำสำคัญ:

แผลรูทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ เพื่อเป็นแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลรูทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง เป็นการศึกษาข้อมูลรายกรณี (Case study) 2 ราย คัดเลือกกรณีศึกษาเป็นผู้ป่วยที่มี แผลรูทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ11 แบบแผนของกอร์ดอน โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร ตำรา ผลงานวิชาการ บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย  กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล  เพื่อวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล  สรุป   และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

     ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย อายุ 65 ปี มีประวัติเป็น CA sigmoid colon และประวัติเคยผ่าตัดสมอง ปวดท้องมาก ก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับการผ่าตัด Explore laboratory with lysis adhesion with repair colon with repair small bowel with temporary closure หลังผ่าตัดผู้ป่วยปวดท้องมากขึ้น แผลซึมตลอด แพทย์ประเมินผู้ป่วยมี Small bowel perforation ได้รับการผ่าตัดครั้งที่ 2: Abdominal toilet with temporary closure with tube enterostomy with Vacuum dressing เปลี่ยน vacuum dressing ไปทั้งหมด 86 ครั้ง ผู้ป่วยได้รับ Total parenteral nutrition ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ และการจัดการสารคัดหลั่ง ผู้ป่วยปลอดภัย กลับบ้านได้ รวมอยู่รักษา 281 วัน

กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย อายุ 34 ปี มีประวัติเป็น Sigmoid Colon Cancer invade bladder S/P Loop transvers colostomy with Ureterostomy แผลบริเวณหน้าท้องมีสิ่งคัดหลั่งซึมเป็นเศษอาหารออกตลอดเวลา ร่วมกับมีไข้ก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน แรกรับ ความดันโลหิต 84/47 mmHg มีภาวะ Septic shock  เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น มี Urinary tract infection, Severe malnutrition, Hypokalemia, Hypoalbuminemia และ Anemia ผู้ป่วยได้รับ Partial parenteral nutrition ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ และการจัดการสารคัดหลั่ง ผู้ป่วยปลอดภัย Refer กลับโรงพยาบาลชุมชน รวมอยู่รักษา 21 วัน

References

Ghimire P. Management of Enterocutaneous Fistula: A Review. Nepal Med Assoc 2022; 60(245): 93-100.

Gribovskaja-Rupp I. & Melton GB. Enterocutaneous Fistula: Proven Strategies and Updates. Clinics in Colon and Rectal Surgery 2016; 19(2): 130-137.

Heimroth J., Chen E. & Sutton E. Management Approaches for Enterocutaneous Fistulas. THE AMERICAN SURGEON 2018; 84: 326-333.

กชวรรณ นงค์แย้ม และคณะ. ความก้าวหน้า: เครือข่ายและการจัดการดูแลแผล และออสโตมี 2563. เชียงใหม่: ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

กาญจนา รุ่งแสงจันทร์. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลรูทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง (Enterocutaneous Fistula). กรุงเทพมหานครฯ: งานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

ธนัชพร พรเทวบัญชา และอมรพล กันเลิศ. แนวทางการรักษา Entero-Atmospheric Fistula. วารสารสมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 2565; 3: 111-124.

บุศรา ชัยทัศน์ และนันทกา สวัสดิพานิช. ประเด็นที่ควรตระหนักในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีแผลทะลุระหว่างทางเดินอาหารและผิวหนัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561; 30(2): 16-27.

แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ11แบบแผนของกอร์ดอน - ค้นหาด้วย Google [Internet]. [cited 2023 Sep 22]. Available from: https://www.google.com/search

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ขุ่มด้วง ก. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลรูทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 565–571. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2017