การพยาบาลผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สมปอง เทพศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน, ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดทางหน้าท้อง, การพยาบาลผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสาเหตุอาการ อาการแสดง การรักษาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง กรณีศึกษา 2 ราย ศึกษาโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้องจำนวน 2 ราย และเข้ารับการรักษาแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาลขอนแก่น

     ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษารายที่ 1 มาด้วยอาการปวดท้อง อาเจียนร่วมกับมีไข้สูง หอบ ซึมลง  มีภาวะ septic shock  ส่วนรายที่ 2  มีอาการปวดท้อง มีไข้ ทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันจากนิ่ว (Acute Calculus Cholecystitis) และได้รับการรักษาผ่าตัดด้วยวิธี Open Cholecystectomy  มีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะก่อนการผ่าตัด ที่เหมือนกัน คือ ปวดท้องเนื่องจากการหดเกร็งของถุงน้ำดีจากการอักเสบเฉียบพลัน  มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะโรคและการผ่าตัด  มีอุณหภูมิร่างกายสูง  ส่วนระยะหลังผ่าตัดที่เหมือนกัน คือ  ปวดแผลผ่าตัดจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด  แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ ภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์  ท้องอืด เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด และขาดความรู้ในการจัดการตนเอง  ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัดที่ต่างกัน กรณีศึกษารายที่ 1 มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ การขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากระดับรู้สติลดลง ขณะที่กรณีศึกษารายที่ 2 มีภาวะความดันโลหิตสูง  ในระยะหลังผ่าตัด กรณีศึกษารายที่ 1 มีภาวะแทรกซ้อนจากปอดติดเชื้อ  ท้องอืด  ขณะที่รายที่ 2 มีเพียงภาวะท้องอืด  การพยาบาลที่สำคัญ คือ การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดในภาวะฉุกเฉิน การจัดการปัญหาในระยะก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสี่ยงสำคัญใน การพยาบาลเพื่อบรรเทาความปวด  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เสริมพลังผู้ป่วยเพื่อฟื้นฟูสภาพ และวางแผนการพยาบาลจนผู้ป่วยจำหน่าย หลังจากให้การพยาบาล ผู้ป่วยทั้ง 2 รายปลอดภัย  มีความมั่นใจในการดูแลตนเอง สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ผู้ป่วยรายที่ 1 นอนโรงพยาบาล  10วัน  รายที่ 2 นอนโรงพยาบาล 7  วัน

References

คณะกรรมการจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยปวดท้องเฉียบพลัน.(2561).แนวทางการดูแลผู้ป่วยปวดท้องเฉียบพลัน.สมุทรสาคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง.

สุริยาวุธ แคนหมั้น.(2561).Acute Cholecystitis.โรงพยาบาลขอนแก่น,ประชุมวิชาการประจำปีชมรมศัลยแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 25.(น.34-44), ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

สกุลรัตน์ เตียววานิช,ทัศนีย์ ตั้งตรงจิตต์.(2553).การพยาบาลทางศัลยกรรมผู้ที่มีความผิดปกติของถุงน้ำดีและท่อทางเดินน้ำดี. กรุงเทพมหานครฯ: วัฒนาการพิมพ์.

Ningning Zhou,Li Wang, Yu Lei, Minjie Tao, Qin Xu,Jia Ying. Effects of rapid rehabilitation nursing on postoperative complications and life quality of patients with cholecystitisInt. J ClinExp Med 2020;13(11):8259-8266 https://e-century.us/files/ijcem/13/11/ijcem0114465.pdf

MasamichiYokoe,JiroHata,TadahiroTakada,Steven M. Strasberg,HoracioJ.Asbun,Wakabayashi….,MasakazuYamamoto(2018). Tokyo Guidelines 2018: diagnostic criteria and severity grading of acute cholecystitis (with videos) 16/09/2563.https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/jhbp.515.

พัชรี คำแก้ว. (2565) การพยาบาลระยะฉุกเฉินผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุชภาพชุมชน;7(2) : 37-44.

บุญชู อนุสาสนนันท์, วันชัย เลิศวัฒนวิลาส.(2564) การพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัดในผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่มีภาวะกลุ่มอาการเมอริชชี่ . พยาบาลสาร;48(1):341-354.

ศิริพรรณ ภมรพล.(2559).บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการลุกเดินจากเตียงโดยเร็วภายหลังผ่าตัด.วารสารพยาบาลสภากาชาติไทย;9(2) : 14-23

ดรุณี สมบูรณ์กิจ, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์,กมลรัตน์ สุปัญญาบุตรและรัชชยา มหาสิริมงคล(2561) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม; 15(3) : 24-34.

KadriyeAldemir ,AylinAydınSayılan.( 2020).Effect of a mobilization program administered after open cholecystectomy on sleep duration and several other clinical variables.16/09/2020.https://dergipark.org.tr/en/download/article-file/1031754

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

เทพศรี ส. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 572–580. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2018