การพัฒนาแนวปฏิบัติการทำแผลผู้ป่วยแผลไหม้ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนา, แนวปฏิบัติ, ผู้ป่วยแผลไหม้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติการทำแผลผู้ป่วยแผลไหม้ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อศึกษารูปแบบแนวปฏิบัติการทำแผลผู้ป่วยแผลไหม้ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคามที่เหมาะสม โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้มีการมีการศึกษาโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพงานตามวงล้อ PAOR และใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ป่วยแผลไหม้ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการ จำนวน 9 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยแผลไหม้ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มละ 21 คน จำนวน 42 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และนำเสนอเป็นค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) กรณีข้อมูลมีการแจกแจงแบบไม่ปกตินำเสนอด้วยมัธยฐาน (Median) เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 จัดทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ย ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบโดยใช้สถิติทดสอบ paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่าเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยหลังการทดลองมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจ ความถูกต้องในการใช้อุปกรณ์ ความวิตกกังวล และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเชียงยืนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยพบว่า หลังการทดลองใช้รูปแบบแนวปฏิบัติการทำแผลผู้ป่วยแผลไหม้ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สำหรับเจ้าหน้าที่ พบว่า ผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง 8.67 คะแนน (95%CI=8.16-9.17) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความถูกต้องในการใช้อุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 5.47 คะแนน (95%CI=4.92-6.02) สำหรับผู้ป่วยแผลไหม้ พบว่า ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวล ลดลง 16.43 คะแนน (95%CI=15.12-17.72) และผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเชียงยืน เพิ่มขึ้น 17.71 คะแนน (95%CI=17.00-18.42) ตามลำดับ
References
Kagan RJ. et al.(2013). Surgical management of the burn wound and use of skin substitutes: an expert panel white paper. J Burn Care Res. 34(2):e60-e79.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2560). ข้อมูลอัคคีภัย 2532-2560 [ออนไลน์]. สำนักงานสถิติแห่งชาติ: กรุงเทพฯ [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.baania.com/th/article.
อุรวดี เจริญชัย.(2013). Nursing Care in Burn Wound. Srinagarind Med J 19-28.
Richardson P, Mustard L. The management of pain in the burns unit. BURNS 2009; 35(7): 921-36.
วารณี บุญช่วยเหลือ และคณะ.(2563). ภาวะทุพโภชนาการและผลกระทบในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 12(2): 287-304.
โรงพยาบาลเชียงยืน.(2566). รายงานสถิติผู้ป่วยแผลไหม้. มหาสารคาม: โรงพยาบาลเชียงยืน.
Kemnis S, Mc Tagart R.(1998) The action research planner. Victoria: Deakin University.
American Burn Association White Paper.(2009) Surgical management of the burn wound and use of skin substitutes. American Burn Association.
ประยูร จำปาปี, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา และชนะพล ศรีฤาชา.(2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 20(1): 97-110.
กันตพร ยอดใชย และบุปผา ส่งศรีบุญสิทธิ์. การพัฒนาเครื่องแจ้งเตือนการส่งสิ่งส่งตรวจสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์: การทดสอบต้นแบบ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2566; 10(2): 1-11.
พจนี วงศ์ศิริ และศุภดีวัน พิทักษ์แทน. ผลการใช้โปรแกรมการจัดการความปวดต่อการลดความปวด ความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดบุตรที่ได้รับการระงับความรู้สึกชนิดดมยาสลบ ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562; 33(3): 441-460.
นัยนา ผาณิบุศย์, วัลลภา ช่างเจรจา และสุนันท์ นกทอง. ผลการพัฒนาระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา 2562; 2(4): 50-56.