การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อค : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา ขันธมูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
  • ศิรประภา ทาธิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อค, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษารายกรณี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบอาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อนและการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อค : กรณีศึกษา 2 ราย 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชื่นชม ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ผลการศึกษาพบว่า

     กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 72 ปี อาการสำคัญ ไข้สูง หนาวสั่น เป็นก่อนมา 1 วัน โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดสมอง ขณะผู้ป่วยอยู่ในความดูแลมีอาการเปลี่ยนแปลงเข้าได้กับเกณฑ์ประเมินภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ประเมิน SIRS เข้าเกณฑ์ 2 ใน 4 ข้อ S-NEWS 6 คะแนน ได้รับการดูแลตามแนวทาง Sepsis fast track หลังได้รับการดูแล ผู้ป่วยมีภาวะช็อคไม่ดีขึ้นยังคงมีความดันโลหิตต่ำ จึงส่งตัวรับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม

     กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 77 ปี อาการสำคัญ ปวดบิดท้อง ถ่ายเหลว เหนื่อยอ่อนเพลีย เป็นก่อนมา 1 วัน โรคประจำตัวเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง ขณะผู้ป่วยอยู่ในความดูแลมีอาการเปลี่ยนแปลง แม้จะไม่เข้าได้กับเกณฑ์ประเมินภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (SIRS) แต่มีความดันโลหิตต่ำ S-NEWS 6 คะแนน ได้รับการดูแลตามแนวทาง Sepsis fast track หลังได้รับการดูแล ผู้ป่วยยังคงมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะช็อคและไตวายเฉียบพลัน จึงได้รับการส่งตัวรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม

References

กนก พิพัฒน์เวชชม. (2551) การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ : เพื่อเพิ่มอัตราการ รอดชีวิต. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต, 29(3), 241-251.

ธนรัตน์ พรศิริรัตน์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, สุรัตน์ ทองอยู่. (2558). ปัจจัยทำนายการเข้าสู่ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีภาวะติดเชื้อ. วารสารสภาการพยาบาลท, 30(1): 72-85.

อาภรณ์ นิยมพฤกษ์, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2557). การพัฒนาระบบการดูแล ผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารการพยาบาลและการดูแล, 31(2), 14-24.

Arnold, S.V., Spertus, J.A., Lipska, K.J., Lanfear, D.E., Tang, F., Grodzinsky, A. et al. (2013). Type of Beta-blocker Use Among Patients with Versus without Diabetes after Myocardial Infarction, Am Heart J, 168(3), 273–279.

Taylor, M.T., McNicholas, C., Nicolay, C., Darzi, A., Bell, D., & Reed, JE. (2014). Systematic review of the application of the plan–do–study–act method to improve quality in healthcare. BMJ Qual Saf, 23(1), 290-298.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ตัวชี้วัดผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดhttps://healthkpi.dms.go.th/kpi2/kpi- list/view/?id=1735

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31