การพยาบาลผู้คลอดติดเชื้อโควิด-19 ร่วมกับมีภาวะตกเลือดหลังคลอด: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • รัตนา หาทนต์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ติดเชื้อโควิด-19, ภาวะตกเลือดหลังคลอด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้คลอดติดเชื้อโควิด-19 ร่วมกับมีภาวะตกเลือดหลังคลอด กรณีศึกษาเปรียบเทียบจำนวน 2 ราย ทำการศึกษาผู้คลอดที่มารับบริการที่งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลหนองเรือ  การศึกษาครอบคลุมระยะรอคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รวมถึงทารกแรกเกิด ตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล

     ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายที่ 1  ผู้คลอดอายุ 34 ปี G3P2A0L2  มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอดร่วมกับมีถุงน้ำคร่ำแตกลักษณะน้ำคร่ำมีขี้เทาปน กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้คลอดอายุ 17 ปี G1P0A0L0 มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอด จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าผู้คลอดทั้ง 2 รายมาด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอดร่วมกับมีผล ATK positive ได้รับการดูแลทำคลอดปกติทางช่องคลอดตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 ผู้คลอดทั้ง 2 รายมีภาวะตกเลือดหลังคลอดสาเหตุจากเศษรกค้าง ได้รับการทำหัตถการขูดมดลูกทั้ง 2 ราย ผู้คลอดและทารกทั้ง 2 รายได้รับการรักษาพยาบาลตามสาเหตุและอาการตามแผนการรักษา ได้รับการพยาบาลตามแนวคิดและแบบแผนสุขภาพตามทฤษฎีการพยาบาลของกอร์ดอน การประเมินสุขภาพมารดาหลังคลอดตามหลัก 13B รวมถึงการดูแลด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม ทารกสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายใต้การเสริมพลังจากพยาบาล  วางแผนจำหน่ายเพื่อเตรียมส่งกักตัวเฝ้าระวังการติดเชื้อต่อที่บ้านให้ครบตามแนวทาง

References

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. สืบค้น ตุลาคม 2566 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

กรมควบคุมโรค. (2565). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566 จาก https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. สืบค้น 9 มกราคม 2564 จาก http://www.rtcog.or.th/home/wp-Content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-of- Postpartum-Hemorrhage.pdf.

สุธิดา อินทรเพชร, เอมอร บุตรอุดม, สุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล, และทิพวรรณ ทัพซ้าย. (2564). ผลกระทบของการติดเชื้อโควิด-19 และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 46(3), 253-262

Hapshy, V., Aziz, D., Kahar, P., Khanna, D., Johnson, K. F., & Parmar, M. S. (2021). Covid-19 and pregnancy: Risk, symptoms, diagnosis, and treatment. Nature Public Health Emergency Collection, 3(7), 1477-1483. https://doi.org/10.1007/s42399-021-00915-2

Huntley, B. J., Huntley, E. S., Di Mascio, D., Chen, T., Berghella, V., & Chauhan, S. P. (2020). Rates of maternal and perinatal mortality and vertical transmission in pregnancies complicated by severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) infection: A systematic review. Obstetrics and Gynecology, 136(2), 303–312. https://doi.org/10.1097/AOG.0000000000004010

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

หาทนต์ ร. (2023). การพยาบาลผู้คลอดติดเชื้อโควิด-19 ร่วมกับมีภาวะตกเลือดหลังคลอด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 637–645. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2025