การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลหนองเรือ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • บุษยมาศ แพงแสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล, เบาหวาน, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยคัดเลือกผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 2 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหนองเรือ โดยมุ่งหมายเพื่อที่จะเปรียบเทียบ อาการ, การรักษา,ภาวะแทรกซ้นของโรค และแนวทางการพยาบาล ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง โดยมีการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ร่วมกับการ สังเกต กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล ใช้แนวคิด แบบแผน สุขภาพของกอร์ดอน เป็นกรอบในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

     ผลการศึกษา :ผู้ป่วยทั้งสองรายมีอาการเจ็บป่วยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เช่นอาการน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ  ซีด เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลย์ มีอาการเหนื่อยเพลียวิงเวียน ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยในภาวะเจ็บป่วยผู้ป่วยรายที่1 มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายน้อยลงหลังฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มีภาวะซีดดีขึ้น เหนื่อยวิงเวียนน้อยลงผู้ป่วยรายที่ 2 จะมีอาการรุนแรงกว่ารายแรกเนื่องจากรับการรักษาแบบประคับประครองไม่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต และมีอาการตามองไม่ชัดไม่มีผู้ดูแลให้ทานยาอ่านฉลากยาไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน รับประทานอาหารที่คนในครอบครัวเตรียมให้ติดเตียง รับประทานอาหารได้น้อยเวลาเจ็บป่วย  ไม่มีญาติดูแลหลัก บุตรสาวทำงานโรงงานพักในตัวอำเภอไปหาวันหยุดและเฝ้าเวลานอนรพ.หลานไปโรงเรียน ภรรยาสูงอายุมีปัญหาปวดหลัง

References

กิติมาเศรษฐ์บุญสร้างและ ประเสริฐ ประสมรักษ์.(2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบาบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทาจังหวัดยโสธร.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(4),485-503.

ชัชวาลวงศ์สารี และอรนันท์หาญยุทธ. (2557). การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.วารสารพยาบาลตำรวจ, 2(6), 220-233.

มีด๊ะ เหมมาน และคณะ. (2560). การดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง:ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักมุสลิม.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(1), 50-59.

ภทรพรรณ อุณาภาค และขวัญชัยรัตนมณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 44-54.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยฯ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

สุรีรัตน์ ปิงสุทธิวงศ์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในชุมชน: Nursing Care for Uncontrolled Type 2 Diabetes Mellitus Patients in Community. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(3), 59-73.

กิ่งกมล เพชรศรี,กันตพร ยอดไชย,ทิพย์มาส ชิณวงศ์. (2560). การนอนไม่หลับ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและบทบาทของพยาบาลในการจัดการอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์,7(1), 1-12.

วาสินี ชาญศรีและ พรเลิศ ชุบชัย.(2562).บทบาทพยาบาลชุมชนในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหว.เวชบันทึกศิริราช, 12(2),10-107.

ปาร์ยชญาวงษ์ไตรรักษ์.(2561). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้านโดยครอบครัว(ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. ชลบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

แพงแสง บ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลหนองเรือ : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 653–660. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2027