ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • อาริยา แพนชัยภูมิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาของของผู้ป่วยและผู้ที่เสียชีวิตและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง ศึกษาวิจัยในช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตและเวชระเบียนของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุแบบโลจิสติค

     ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 50.8 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 27.5 อายุเฉลี่ย 39.6 ปี สัญชาติไทย ร้อยละ 85.0 ว่างงาน ร้อยละ 32.0 มีโรคประจำตัวร้อยละ 81.5 HRC ที่ทำงาน ร้อยละ 45.8 รับการรักษาที่ HRC+PUI ร้อยละ 43.1 ผลการถ่ายภาพรังสี(X-ray)รอยโรคของเนื้อปอด พบปกติ ร้อยละ 83.3 ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 96-100 % ร้อยละ 86.5 ไม่ได้รับยาต้านไวรัส ร้อยละ 83.3 และได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 51.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) ได้แก่ อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี(OR 2.80, 95% CI1.21-5.25, P-value <0.01) อาชีพรับราชการ/รับจ้าง (OR 2.63, 95% CI 1.45-5.11, P-value <0.01) มีโรคประจำตัว (OR 95.3, 95% CI 20.2-453.11, P-value <0.01) ผลการถ่ายภาพรังสี (X-ray)รอยโรคของเนื้อปอด ผิดปกติ (OR 5.6, 95% CI 2.96-8.52 , P-value <0.01) และความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ≤95 % (OR 5.36, 95% CI 3.2-8.63, P-value <0.01) การศึกษาครั้งนี้พบว่าการมีโรคประจำตัว เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

References

World Health Organization. Novel Corona Virus 2019 [Internert]; 2563 [cited 2023 April 5]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports

กรมควบคุมโรค. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแล รักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2565]. เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g _health_care.php

World Health Organization. COVID-19 as a Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) under the IHR. [Internet]; 2020 [cited 2022 Jan 5]. Available from:https://extranet.who.int/sph/COVID19-public-health-emergency-international-concernpheic-under-ihr

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง 27 วันที่ 18 เมษายน 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=181

Guan W, Ni Z, Hu Y, Liang W, Ou C, He J, et al. Clinical Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China [Internet]; The new england journal of medicine. 2020 [cited 2022 Jan 10]. Available from: https://doi.org/10.1056/NEJMoa2002032

Ianleng K, Yanopas A, Phaopraphat K. Nursing Care for COVID-19 Patients in Cohort Ward, Siriraj Hospital. Siriraj Medical Bulletin. 2021; 14: 12–8.

อำพวรรณ์ ยวนใจ, อุ่นเรือน กลิ่นขจร, สุพรรษา วรมาลี, จรินทร์รฐา วัชระเกษมสุนทร. ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ Coronavirus disease 2019: รายงานผู้ป่วย. เวชบันทึกศิริราช. 2563;13:155–63.

อนุตรา รัตน์นราทร. ลักษณะทางคลินิกและภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากโควิด 19 ที่สถาบันบำราศนราดูร. วารสารควบคุมโรค. 2563;46:540–50.

Grasselli G, Greco M, Zanella A, et al. Risk Factors Associated with Mortality Among Patients With COVID-19 in Intensive Care Units in Lombardy, Italy. JAMA Intern Med [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 16]; 180(10):1345–55. Available from: https://pubmed. ncbi.nlm.nih.gov/32667669/

Elliott J, Bodinier B, Zanella A, Whitaker M, et al. COVID-19 mortality in the UK Biobank cohort: revisiting and evaluating risk factors. European Journal of Epidemiology [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 16];36:299–309. Available from: https://doi.org/ 10.1007/s10654-021-00722-y

Orwa A, Ballouze R, Ooi P, Ghadzi SMS. Risk factors for mortality among COVID-19 patients. Diabetes Research and Clinical Practice [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 16]. Available from: https://www.science direct.com/science/article/pii/S0168822720305453

Grant MC, Geoghegan L, Arbyn M, Mohammed Z, McGuinness L, Clarke EL, et al. The prevalence of symptoms in 24,410 adults infected by the novel coronavirus (SARS-CoV-2;COVID-19): A systematic review and meta-analysis of 148 studies from 9 countries.PloS one. 2020;15(6):1-19

ศิริชัย กาญจนวาสี ดิเรก ศรีสุโข และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์.การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย ทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แบบรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต (Novelcorona 3.1) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_surveillance/g_measures_150566.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. กรุงเทพฯ: บริษัท วี. อินเตอร์พริ้น; 2550.

ณรงค์ชัย สังซา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด.ศรีนครินทร์เวชสาร 2565; 37(5): 504-517.

วิเศษ กำลัง และสุรชาติ โกยดุล.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพังงา.วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ 2565; 37(1): 53-72.

ธนสรณ์ ศรีใช้ประวัติ (2565)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในจังหวัดนนทบุรี.วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2566; 19(1) : 47-60.

ศิริลักษณ์ไทยเจริญ, สุกาญดา หมื่นราษฎร์, สุรชาติโกยดุลย์, ละมุน แสงสุวรรณ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสุราษฎร์ธานี.รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2565; 53(7).

ปิยนุช ประฏิภาณวัตร.ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565;7(1): 64-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

แพนชัยภูมิ อ. (2023). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดภูเก็ต. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 675–684. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2028