ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จุลลดา เหมโส พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่, ปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตำบลกลาง และตำบลขวัญเมือง จำนวน 136 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาในการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Pearson Product Moment Correlation Coefficient เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา
     ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 2.33 คะแนน (S.D.= 0.68) อยู่ในระดับน้อย พฤติกรรมการดูแลตนเองมีค่าเฉลี่ย 2.22 คะแนน (S.D.= 0.54) อยู่ในระดับน้อย ความรอบรู้ด้านสุขภาพภาพรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=<0.001, r = 0.793) อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง ทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการรู้เท่าทันสื่อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001, r = 0.647, p<0.001, r = 0.711, p<0.001, r = 0.706, p<0.001, r = 0.793 และ p<0.001, r = 0.716 ตามลำดับ) ส่วนทักษะความความรู้ความเข้าใจไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง (p= 0.251, r = -0.099) 

References

World Stroke Organization. (2017). What’s your reason for preventing stroke [Internet]. Vienna: World Stroke Organization. [5 ม ก ร า ค ม 2 5 6 6]. เข้าถึงจาก: https://www.worldstroke.org/assets/downloads/English-World Stroke Day 2017 Brochure 20170720.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูง ปี 2561. [สืบค้นเมื่อ 5 ม ก ร า ค ม 2 5 6 6], เข้าถึงจาก http://www.thaincd.com

World Stroke Organization. (2008). Facts and Figures about Stroke. Retrieved from May, 2 1 2 0 1 9 https://www.world-stroke.org/component/content/article/16-forpatients/84-facts-and-figures-about-stroke.

อารีย์รัตน์ เปสูงเนิน. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการปองกันโรคหลอเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการที่หน่วยปฐมภูมิ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 24(1).

Wang, J., Wen, X., Li, W., Li, X., Wang, Y., & Lu, W. (2017). Risk factors for stroke in the Chinese population: a systematic review and meta-analysis. Journal of Stroke and Cerebrovascular Diseases, 26(3), 509-517.

Abascal, J. V., Hernandez, Y. G., Mederos, L. E. A., & Caballero, Y. V. (2016). Modifiable risk factors in uncontrolled high blood pressure patients of Banjul, Gambia. Correo Científico Médico, 20(3).

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี 2562 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ.กัตติกา วังทะพันธ์. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078.

อังศินันท์ อินทรกาแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ:สุขุมวิทการพิมพ์.

กองสุขศึกษา. (2561).การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี) กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561.

รุ่งนภา จันทรา. (2563). ความแตกฉานด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2):177-189.

วันวิสา ยะเกี๋ยงงํา. (2563). ความรอบรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง ตำบลทุ่งกระชาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(2), 97-116.

Orem, D.E. (1995). Nursing concepts of practice. (5th ed.).St. Louis: Mosby.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., and Parson, M.A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed.) Upper Saddle River, N.J. : Prentia Hall.

นวพร วุฒิธรรม และพิมพ์นิภา ศรีนพคุณ. (2562). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการพฤติกรรมสุขภาพตนเองในผู้ป่วยกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยคริสเตียน. กรุงเทพมหานคร.

ธัญญารัตน์ วงค์ชนะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2566). กลุ่มรายงานมาตรฐาน:การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ปีงบประมาณ2565. สืบค้นจาก https://ret.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

ณิชาภัทร วัดบุญเลี้ยง. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.

Elifson, W K. (1990). Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.

วิจิตรา หน่อแก้ว. (2565). ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

สายใจ จันแดง. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรควัณโรค. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29