ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและพฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชัยณรงค์ สีแหล้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นิยม จันทร์นวล วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลก, ควมเข้มแข็งในการมองโลก, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นความเข้มแข็งในการมองโลกและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเท่ากับ 0.82 และ 0.74 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน (Paired sample t-test และ Independent sample t-test)
     ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้มแข็งในการมองโลก และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

References

องค์กรสหพันธ์ทันตกรรมโลก (FDI). นิยามใหม่ของคำว่า สุขภาพช่องปาก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 9 ธ.ค.65]. เข้าถึงจาก: https://www.ryt9.com/s/anpi/2503828

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ), 2561.

Sanjeev Khanagar and et al. “Oral Hygiene Status of Institutionalised Dependent Elderly in India – a Cross-Sectional Survey”, Canadian Geriatrics Journal. 18(2): 51-6; April, 2015.

Watt, R.G. “Strategies and Approaches in Oral Disease Prevention and Health”, Bull World Health Organ. 83(9): 711-718; September, 2005.

Werner, H. and et al. “Psychological Interventions for Poor Oral Health: A Systematic Review”, Journal of Dental Research. 95(5): 506-514; January, 2016.

อรฉัตร คุรุรัตนะ. “ความสำคัญของความเข้มแข็งในการมองโลกต่อสุขภาพช่องปาก”, วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 13(2): 140; กรกฎาคม-ธันวาคม, 2562.

Unraveling The Mystery of Health: How People Manage Stress and Stay Well. San Francisco: Jossey-Bass, 1987.

Cohen, J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press, 1977.

สุขณิษา อินแก้ว. “ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุกรณีศึกษา: อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา”, วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 7(2): 28-39; พฤษภาคม–สิงหาคม, 2563.

สมจิต หนุเจริญกุล, ประคอง อินทรสมบัติ และพรรณวดี พุธวัฒนะ. “สิ่งรบกวรในชีวิตประจำวัน ความเข้มแข็งในการมองโลกและการรับรู้ถึงความผาสุกในชีวิตของอาจารย์พยาบาลในมหาวิทยาลัย”, วารสารพยาบาล. 38(3): 169-190; กรกฎาคม-กันยายน, 2532.

Chinger. G. S, Hadidjah. D, Rusminah. N, (2012). Comparison effectiveness between cetylpyridinium chloride and triclosan mouthwash on plaque, Quigley – Hein Index (modified). Padjadjaran Journal of Dentistry, 24(3), 189-193.

ไพสิฐ ภิโรกาศ และ อรวรรณ กีรติสิโรจน์. “ผลของโปรแกรมประยุกต์ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลทางทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์”, วารสารสุขศึกษา. 42(2): 110-122; กรกฎาคม-ธันวาคม, 2562.

วรรษชล ลุนาวัน, บัววรุณ ศรีชัยกุล และจตุพร เหลืองอุบล. “ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยประยุกต์ทฤษฎีการกำกับตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม”, วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(2): 80-89; กรกฎาคม-ธันวาคม, 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29