กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ได้รับการผ่าตัดขยายช่องกระดูกสันหลัง และเชื่อมกระดูกโดยใส่โลหะยึดตรึงกระดูกสันหลังร่วมกับซ่อมแซมเยื่อหุ้มไขสันหลังชั้นดูรา

ผู้แต่ง

  • ศุภกร ภุมเรศน์ พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

คำสำคัญ:

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน, การผ่าตัดขยายช่องกระดูกสันหลังและเชื่อมกระดูกโดยใส่โลหะยึดตรึงกระดูกสันหลัง , การซ่อมแซมเยื่อหุ้มไขสันหลังชั้นดูรา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแผนการพยาบาลในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ได้รับการผ่าตัดขยายช่องกระดูกสันหลังและเชื่อมกระดูกโดยใส่โลหะยึดตรึงกระดูกสันหลังร่วมกับซ่อมแซมเยื่อหุ้มไขสันหลังชั้นดูรา จำนวน 1 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ เวชระเบียนผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษา ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 59 ปี ประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง มาด้วยอาการปวดหลัง ร้าวลงขา ชาขาทั้ง 2 ข้าง แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนส่วนเอวชิ้นที่ 2 ถึง 5 และส่วนกระเบนเหน็บชิ้นที่ 1 ให้การรักษาด้วยการทำผ่าตัดขยายช่องกระดูกสันหลังและเชื่อมกระดูกโดยใส่โลหะยึดตรึงกระดูกสันหลัง โดยการศึกษานี้แบ่งเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะพบผู้ป่วยมีปัญหาสำคัญ ดังนี้ ระยะก่อนผ่าตัด ได้แก่ ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด รวมทั้งการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด ระยะผ่าตัด ได้แก่ เกิดภาวะช็อกจากการสูญเสียเลือดมากในขณะผ่าตัด เกิดการฉีกขาดของเยื่อหุ้มไขสันหลังชั้นดูรา และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการจัดท่านอนคว่ำ ระยะหลังผ่าตัด ได้แก่ เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังและแผลผ่าตัดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และเส้นประสาทไขสันหลังถูกรบกวน  เสี่ยงต่อสมรรถภาพร่างกายลดลงจากการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดไม่มีประสิทธิภาพ  แผนการพยาบาลสำคัญ ได้แก่ การลดความวิตกกังวล เพิ่มปริมาตรเลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเพียงพอ หยุดเลือดที่อออจากการผ่าตัด หยุดการรั่วของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ป้องกันการเกิดความดันในกะโหลกศีรษะต่ำ ป้องกันเนื้อเยื่อร่างกายขาดออกซิเจน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยหายใจเองอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความปวดจากการผ่าตัด ส่งเสริมให้ผู้ป่วยบริหารกล้ามเนื้อต่างๆ และมีความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย จากการประเมินผลการพยาบาลพบว่า ปัญหาสำคัญดังกล่าวถูกแก้ไขหมดไป ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำเนินชีวิตต่อที่บ้านได้

References

สายสมร บริสุทธิ์และคณะ. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังสำหรับพยาบาลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2560.

สายใจ เอียงอิ่ม. คู่มือการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการเชื่อมกระดูกและใส่โลหะยึดตรึงกระดูก [อินเตอร์เน็ต] 2555 [สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/169/sins_nursing_manual_2555_04.pdf

พงศธร ปาลี และพัชริดา กุลครอง. กระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนและการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวเพื่อลดอาการปวด.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(4): 768-776.

โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท. เคาะห้องหมอหาคำตอบ[อินเตอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน2566]. เข้าถึงจาก: https://www.facebook.com/sspinehospital/?locale=th_TH

อัจฉรา ไชยกุล. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดขยายช่องทางออกเส้นประสาทกระดูกสันหลัง: กรณีศึกษา 2 ราย วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564; 8(4): 362-374.

ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2563- 2565 [อินทราเน็ต] 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566] เข้าถึงจาก : http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/

กลุ่มงานการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ ห้องผ่าตัด ปี พ.ศ 2563- 2565.

กิตติศักดิ์ คัมภีระ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองต่อความวิตกกังวล การปฏิบัติตัว และพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต].พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562.

บุญมี ชุมพล. การพยาบาลผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาทร่วมกับโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบที่ได้รับการผ่าตัดยกกระดูกลามินาออกเพื่อคลายการกดทับเส้นประสาทร่วมกับการเชื่อมและยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยโลหะ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564; 18(1): 73-86.

Erdoğan U., Akpinar A . Clinical Outcomes of Incidental Dural Tears During Lumbar Microdiscectomy. Cureus 2021; 13(4): 2-7.

สวนีย์ พุ่มสีนิล. คู่มือการพยาบาลในระยะผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยเนื้องอกไขสันหลังระดับอกที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกผ่านทางกระดูกสันหลัง[อินเตอร์เน็ต] 2560 [สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/467/Surgical

เสาวภา ไพศาลพันธุ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2560; 37(2): 49-58.

Bajwa SJ.S., Haldar R. Pain management following spinal surgeries: An appraisal of the available options. J Craniovertebral Junction Spine2015; 6(3): 105–110.

ศศิกรณิศ สันติวรบุตร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัย

คริสเตียน; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29