การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งไตที่ได้รับการผ่าตัดเอาไตออกด้วยวิธีการส่องกล้อง

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ จิตตานนท์ โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

มะเร็งไต, การผ่าตัดเอาไตออกด้วยวิธีการส่องกล้อง, การพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัด

บทคัดย่อ

     การศึกษากรณีศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งไตที่ได้รับการผ่าตัดเอาไตออกด้วยวิธีการส่องกล้อง โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของกอร์ดอนในกระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยนํามาวินิจฉัยการพยาบาล วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลในระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด ผู้ป่วยฟื้นจากภาวะการเจ็บป่วยและปลอดภัยจากภาวะวิกฤต โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทยหม้าย อายุ  72 ปี มารับการรักษาที่โรงพยาบาลอ่างทองด้วยอาการปวดท้องด้านขวา ปัสสาวะเป็นเลือด แพทย์ตรวจวินิจฉัยเป็นมะเร็งไตขวาและวางแผนการรักษาโดยการผ่าตัดนำไตออกด้วยวิธีการส่องกล้อง พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดที่หอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรม พบว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็งไตและกลัวการผ่าตัด พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดได้ให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังการผ่าตัด ติดตามเยี่ยมประเมินสภาพและให้การพยาบาลที่หอผู้ป่วย รวมทั้งให้ความรู้และแนะนำเกี่ยวกับแหล่งประโยชน์เมื่อผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายกลับบ้าน
     การศึกษากรณีศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของกอร์ดอนร่วมกับแนวคิดของกระบวนการพยาบาลจัดลำดับกิจกรรมที่สัมพันธ์เชื่อมโยงในแต่ละขั้นตอนของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งไตที่ได้รับการผ่าตัดเอาไตออกด้วยวิธีการส่องกล้องได้รับบริการพยาบาลผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับบริการพยาบาลที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับปัญหา ปราศจากภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง

References

พิษณุ มหาวงศ์ และ สุริธร สุนทรพันธ์ [บรรณาธิการ]. (2558). โรคที่พบบ่อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. เชียงใหม่: หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Capitanio U, Bensalah K, Bex A, Boorjian SA, Bray F, Coleman J, et al. Epidemiology of Renal Cell Carcinoma. Eur Urol (2019) 75(1):74–84. doi: 10.1016/j.eururo.2018.08.036.

Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, et al. Global cancer statistics 2020: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin. 2021;71(3):209–49. https://doi.org/10.3322/caac.21660.

วิโรจน์ เฉลียวปัญญาวงศ์, วรพัฒน์ อัตเวทยานนท์ และ ชูศักดิ์ ปริพัฒน. (2559). การรักษาก้อนขนาดเล็กที่ไต.สงขลานครินทร์เวชสาร, 34(3):141-51.

Ljungberg B, Albiges L, Abu-Ghanem Y, Bensalah K, Dabestani S, FernándezPello S, et al. European Association of Urology Guidelines on Renal Cell Carcinoma: The 2019 Update. Eur Urol (2019) 75(5):799–810. doi: 10.1016/ j.eururo.2019.02.011.

ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. การระงับความรู้สึกผู้ป่วยส่องกล้อง. ใน:วิมลรัตน์ ศรีราช, อรลักษณ์ รอดอนันต์, นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. ก้าวไกลวิสัญญี 4.0 ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพลส จำกัด, 2562:249-267.

โรงพยาบาลอ่างทอง. รายงานสถิติการผ่าตัดโรงพยาบาลอ่างทองปีงบประมาณ 2560-2562. อ่างทอง: ศูนย์สารสนเทศโรงพยาบาลอ่างทอง; 2565.

Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill.

Jensen, S. (2019). Nursing health assessment: a best practice approach. Edition 3. Philadelphia: Wolters Kluwer Health

ชวนพิศ วงศ์สามัญ. (2556). การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 19. ขอนแก่น: ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพร ปีติมานะอาร. (2556). การประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. ในอังกาบ ปราการรัตน์, วิมลรัตน์ สนั่นศิลป์, คิริลักษณ์ สุขสมปอง, และปฏิภาณ ตุ่มทอง (บรรณาธิการ). ตำราวิสัญญีวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4 หน้า 135 - 150). กรุงเทพฯ: เอ-พลัส พริ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29