การประเมินการสัมผัสเสียงดังของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้า กรณีศึกษา: โรงไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
เสียงดัง, ประเมินความเสี่ยง , การได้รับสัมผัสเสียงดัง, โรงไฟฟ้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินการรับสัมผัสเสียงดังของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้เครื่องมือวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) ยี่ห้อ CIRRUS รุ่น CR:110AIS มาตรฐาน IEC61252 ทำการตรวจวัด โดยศึกษาปัจจัยด้านระยะเวลาที่ได้รับสัมผัสและค่าความเข้มเสียงที่เกิดจากเครื่องจักรที่ทำงานตลอดเวลา
ผลการศึกษาพบว่าจากการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 5 สถานีงาน เป็นเวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมงของระยะเวลาการทำงาน ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานบริเวณสถานีงานที่มีเครื่องจักร Steam Turbine No.1, Steam Turbine No.2, Gas Turbine No.1, Gas Turbine No.2 และ Cooling Tower มีค่าระดับความดังเสียงที่ยอมให้รับสัมผัสได้ คือ 86.5 83.4 85 86.2 และ 88.1 เดซิเบล (เอ) ตามลำดับ โดยพบว่า บริเวณเครื่องจักร Steam Turbine No.1, Gas Turbine No.2 และ Cooling Tower มีค่าระดับความดังเสียงเกินมาตรฐานกำหนดซึ่งความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสเสียงดังจากการปฏิบัติงานเกิดจากปัจจัยด้านระยะเวลาที่นานเกินไปร่วมกับค่าความเข้มเสียงที่เกินกว่าค่ามาตรฐานกำหนด กรณีระดับเสียงเกินค่ามาตรฐานนายจ้างต้องจัดให้มีการควบคุมระดับเสียงโดยการออกแบบทางวิศวกรรมและการควบคุมที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สรุปผลการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรทั่วราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 3: กรกฎาคม-กันยายน 2566 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค.2567] เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20231129152849_37606.pdf
กรมควบคุมโรค. (2565). กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค.2567] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/doed/pagecontent.php?page=888&dept=doed
ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม. (2563). แนวทางการเฝ้าระวังภาวะสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังจากการประกอบอาชีพ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค.2567] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1030820200713105552.pdf
Ding, T., Yan, A., & Liu, K. (2019). What is noise-induced hearing loss?. British Journal of Hospital Medicine, 80(9), 525-529.
Sriopas, A., Chapman, R. S., Sutammasa, S., & Siriwong, W. (2017). Occupational noise‐induced hearing loss in auto part factory workers in welding units in Thailand. Journal of occupational health, 59(1), 55-62.
Watchalayann, P., & Laokiat, L. (2019). Assessment of hearing loss among workers in a power plant in Thailand. Applied environmental research, 41(1), 38-45.
ชนานันท์ ภู่ศรี, อามีราสาและ, ภัทรภรณ์ สีสะทาน และ พงศ์ธร แสงชูติ. (2566). การประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสเสียงดังของผู้ปฏิบัติงานสร้างถนนในจังหวัดเพชรบูรณ์. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 13(37), 15-23.
วิชาญ บุญค้ำ และ วราภรณ์ ทุมวงษ์. (2562). การตรวจวัดและการจัดทำแผนที่แสดงระดับเสียงรบกวนในโรงงานผลิตตู้แช่เย็น จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 21-29.
ณัฐพล พิมพ์พรมมา. (2564). การตรวจวัดและการจัดทำแผนที่เสียงในกระบวนการผลิตกระสอบพลาสติกของโรงงานแห่งหนึ่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 36-44.
สิทธิพันธุ์ ไชยนันท์, ญานิศา พึ่งเกตุ และ อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์, ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. (2565). การจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียงในกระบวนการซักฟอกย้อมเครื่องนุ่งห่มเพื่อกำหนดมาตรการการอนุรักษ์การได้ยินของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 หน้า 1-11.
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่133 ตอนพิเศษ 91 ก (ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2559).
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่135 ตอนพิเศษ 19 ง (ลงวันที่ 26 มกราคม 2561).
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่135 ตอนพิเศษ 134 ง (ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2561).
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัดและการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างหรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่135 ตอนพิเศษ 57 ง (ลงวันที่ 12 มีนาคม 2561).