การพยาบาลมารดาหลังคลอดครรภ์เสี่ยงสูงที่ติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ โสมพลกรัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด , ภาวะแทรกซ้อนในมารดาครรภ์เสี่ยงสูง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการดูแลมาดาหลังคลอดที่มีการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด และพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดในมารดาครรภ์เสี่ยงสูง ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสูงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด โดยคัดเลือกผู้คลอดที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื้อรังขณะตั้งครรภ์ร่วมกับมีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผู้ป่วย ผู้ดูแล รวบรวมจากเวชระเบียน วิเคราะห์จากการร่วมทบทวนเคสกับสหสาขาวิชาชีพทีมการดูแลรักษาผู้ป่วย ปรึกษาแพทย์ด้วยเรื่อง แนวทางการรักษาต่างๆ  วิเคราะห์ตามกรอบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ร่วมกับทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม 
     ผลการศึกษาพบว่า ผู้คลอดรายนี้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากแพทย์ประเมินว่าปากมดลูกไม่พร้อมในการชักนำการคลอด ระยะรอผ่าตัดคลอด ระยะผ่าตัดคลอด และระยะหลังผ่าตัดคลอด ไม่พบภาวะแทรกซ้อนทั้งมารดาและทารก หลังจำหน่ายกลับบ้านได้ 13 วัน ผู้คลอดรายนี้กลับมา Re-Admitted ด้วยอาการแผลผ่าตัดคลอดบวมแดง แยก และมีหนองออกจากแผล ได้รับการรักษาโดยการเปิดปากแผล เพื่อล้างแผลและเปิดทำแผลวันละ 1 ครั้ง  ให้ยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องเป็นเวลา 6 วัน แผลจึงแห้งดี แพทย์ทำการ Re-suture และจำหน่ายกลับบ้านได้ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนขณะดูแลรักษาในโรงพยาบาล  

References

กำธร มาลาธรรม และ ยงค์ รงค์รุ่งเรือง. คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2660.

ธีระ ทองสง. ตำราสูติศาสตร์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชเชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่6. เชียงใหม่: 2564.

นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. ความปลอดภัยในการผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่1. เชียงใหม่: โชตนาพริ้นท์; 2561.

ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์. การพยาบาลสูติศาสตร์เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่2. นนทบุรี: บริษัทยุทธรินทร์การพิมพ์จำกัด; 2548.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

สมาคมควบคุมการติดเชื้อเอเชียแปซิฟิค (APSIC). แนวทางปฏิบัติสำหรับการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด. [อินเตอร์เน็ต].2562 [สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566.]. เข้าถึงจาก: https://apsic-apac.org/wp-content/uploads/2019/02/APSIC-SSI-THAI-VERSION-JAN-2019.pdf.

สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ และคณะ. การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.nur.psu.ac.th/nur/file_web.pdf

สุนันทา อรุณพงษ์. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานและคลอดก่อนกำหนดจากภาวะทารกเครียด กรณีศึกษา. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงจาก:http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/Knowledge/JOHS/30052023.pdf

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย และอภิชาต วชิรพันธ์. แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29